ม.มหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างผู้บริหาร วช. มหาวิทยาลัยแม่ข่าย และมหาวิทยาลัยลูกข่าย ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดงานมหกรรมคุณภาพ (Quality Conference) ครั้งที่ 25
August 23, 2018
คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2561
August 23, 2018

ม.มหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างผู้บริหาร วช. มหาวิทยาลัยแม่ข่าย และมหาวิทยาลัยลูกข่าย ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ

5667D08D-4F4D-49D5-B591-9DB6977A63D2

วันที่ 23 สิงหาคม 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับมหาวิทยาลัยแม่ข่าย และมหาวิทยาลัยลูกข่าย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแม่ข่ายในภาคกลาง ที่จะร่วมกันยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในภูมิภาค เพื่อเพิ่มหน่วยงานพันธมิตรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เผยแพร่มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ และยกระดับการพัฒนาด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยแม่ข่ายและลูกข่าย ให้มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) สิ้นสุดการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยแม่ข่ายด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ในระยะแรก โดยได้รับความร่วมมือจากห้องปฏิบัติการวิจัยจำนวน 20 ห้อง จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยลูกข่ายในการพัฒนายกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โดยในงานการประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานการวิจัยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคกลาง ปี 2561 นอกเหนือจากพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับมหาวิทยาลัยแม่ข่าย และมหาวิทยาลัยลูกข่าย ยังมีกิจกรรมประกวด best practice 3 รางวัล และ popular vote โปสเตอร์ 3 รางวัล เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการในเครือข่ายมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 3 ห้องปฏิบัติการ โดย ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านโรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และห้องปฏิบัติการ SUSCChem 3211 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัล best practice ส่วน ศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาโมเลกุล ได้รับรางวัล popular vote

Recent post