19 มีนาคม 2567, 11:00 น.
19 March 2024, 11:00 hrs.

คุณภาพอากาศ

Air Quality

ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ หรือ วิงเวียนศีรษะ
General public : able to do outdoor activities normally
People who need special health care : abnormal symptoms should be observed, such as frequent coughing, difficulty breathing, shortness of breath, wheezing, chest tightness, chest pain, palpitations, nausea, unusual fatigue, or dizziness.
ความเข้มข้นของสารมลพิษในบรรยากาศรายชั่วโมง
(Hourly Air Pollutant Concentration)

PM2.5
33 µg/m3

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
Particulate Matters
with diameter
≤ 2.5 micrometers

PM10
50 µg/m3

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน
Particulate Matters
with diameter
≤ 10 micrometers

O3
40.6 ppb

ก๊าซโอโซน
Ozone

CO
0.1 ppm

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
Carbon monoxide

NO2
4.7 ppb

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์
Nitrogen dioxide

SO2
1.1 ppb

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
Sulphur dioxide
สภาพอากาศรายชั่วโมง
(Hourly Weather Conditions)

 33.4 °C

อุณหภูมิอากาศ
Air Temperature

 59 %

ความชื้นสัมพัทธ์
Relative Humidity

 1.4 m/s

ความเร็วลม
Wind Speed

 152 °

ทิศทางลม
Wind Direction

 0 mm

ปริมาณฝน
Rainfall

 757 W/m2

รังสีอาทิตย์
Solar Radiation

 ดัชนีคุณภาพอากาศ

Air Quality Index (AQI)
19 มีนาคม 2567, 11:00 น.
19 March 2024, 11:00 hrs.
AQI

(PM2.5)

38

(24-hr average)

PM 2.5

31 µg/m3

(24-hr average)

PM 10

46 µg/m3

(24-hr average)

O 3

24.9 ppb

(8-hr average)

CO

0.1 ppm

(8-hr average)

NO 2

7.9 ppb

(1-hr average)

SO 2

0.7 ppb

(1-hr average)

ดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน (Daily AQI)
และสารมลพิษทางอากาศที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อคุณภาพอากาศ
เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (Thailand Air Quality Index)

 ฝุ่นละอองในบรรยากาศ

Ambient Particulate Matters
ความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 และ 10 ไมครอน
(Concentration of PM2.5 and PM10)

 คำถามที่พบบ่อย

Frequently Asked Questions (FAQs)
  • ส่วนแรกของเว็บไซต์
  • ประกอบด้วย
    • ชื่อของเว็บไซต์
    • ตราสัญลักษณ์ของ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมกันพัฒนาเว็บไซต์
    • รายการ (Menu) สำหรับเลือกเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์โดยตรง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ได้แก่ ดัชนีคุณภาพอากาศ, ฝุ่นละอองในบรรยากาศ, ประกาศ, คำถามที่พบบ่อย, คุณภาพอากาศ ม.มหิดล พื้นที่บางกอกน้อย, และคุณภาพอากาศ ม.มหิดล พื้นที่พญาไท
  • ส่วนแสดงคุณภาพอากาศรายชั่วโมง
  • ประกอบด้วย
    • วันที่และเวลาในการรายงานคุณภาพอากาศ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • ระดับคุณภาพอากาศ ซึ่งมี 5 ระดับ คือ ดีมาก, ดี, ปานกลาง, เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และมีผลกระทบต่อสุขภาพ ตามเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ทั้งนี้ คุณภาพอากาศจะอยู่ในระดับใด ขึ้นกับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ในแต่ละชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • คำแนะนำในการปฏิบัติตนตามระดับคุณภาพอากาศ
    • ลักษณะทางอุตุนิยมวิทยา ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ, ความชื้นสัมพัทธ์, ความเร็วลม, ทิศทางลม, ปริมาณฝน และรังสีอาทิตย์
  • ส่วนแสดงดัชนีคุณภาพอากาศ
  • ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ได้แก่ ดัชนีคุณภาพอากาศและความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศรายชั่วโมง และดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน

  • ดัชนีคุณภาพอากาศและความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศรายชั่วโมง
    • วันที่และเวลาในการรายงานดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งจะปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกชั่วโมงแบบอัตโนมัติ
    • ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) รายชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด
    • ค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
    • ค่าเฉลี่ยราย 8 ชั่วโมงของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซโอโซน (O3)
    • ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  • ทั้งนี้ สีของรูปก้อนเมฆ ซึ่งแสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศ และสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด จะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศ และความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่คำนวณได้

  • ดัชนีคุณภาพอากาศรายวัน
    • ดัชนีคุณภาพอากาศที่เป็นตัวแทนของแต่ละวัน ย้อนหลัง 2 สัปดาห์ แสดงผลด้วยกราฟแท่ง ซึ่งจะมีสีเปลี่ยนแปลงไปตามค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่คำนวณได้ พร้อมกำกับด้วยชื่อสารมลพิษทางอากาศที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อดัชนีคุณภาพอากาศในวันนั้น ๆ
    • เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่ละระดับใช้สีเป็นสัญลักษณ์ เพื่อแสดงระดับสถานการณ์มลพิษทางอากาศ และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
  • ส่วนแสดงปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศ
  • ประกอบด้วย
    • ความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงแบบต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการตรวจวัด แสดงผลด้วยกราฟเส้น (เส้นสีเขียว คือ PM2.5 ส่วนเส้นสีส้ม คือ PM10)
    • ค่ามาตรฐานความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย แสดงผลด้วยเส้นประ (เส้นประสีเขียว คือ PM2.5 ส่วนเส้นประสีส้ม คือ PM10)
    • ส่วนบนและส่วนล่างของกราฟ ใช้สำหรับเลือกช่วงเวลาในการแสดงผล เช่น รายวัน, รายสัปดาห์, รายเดือน, ทั้งหมด หรือกำหนดเองแบบจำเพาะเจาะจง
  • ส่วนแสดงประกาศที่เกี่ยวข้อง
  • ประกอบด้วย ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดและการรายงานคุณภาพอากาศ และการคาดหมายลักษณะอากาศ
  • ส่วนแสดงคำถามที่พบบ่อย
  • ประกอบด้วย คำถามต่าง ๆ ที่มักพบบ่อย หรือความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน พร้อมคำตอบหรือคำอธิบาย
  • ส่วนแสดงเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ และข้อมูลสำหรับการติดต่อ
  • ประกอบด้วย
    • ข้อความแสดงเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลต่าง ๆ จากเว็บไซต์
    • ข้อมูลสำหรับการติดต่อคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเว็บไซต์

บ่อยครั้งที่มีคำถามหรือข้อสังเกตว่า เหตุใดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของแต่ละพื้นที่จึงมีค่าไม่เท่ากัน หรือบางกรณีแม้เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ค่าที่ได้จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศกลับไม่เท่าหรือไม่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ที่สำคัญคือ

แหล่งกำเนิดมลพิษแตกต่างกัน พื้นที่ที่แตกต่างกันอาจมีประเภทและจำนวนของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งปริมาณสารมลพิษที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวแตกต่างกัน ส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น พื้นที่เมืองชั้นในมักมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่นและติดขัดมากกว่าพื้นที่เมืองชั้นนอก ส่งผลให้พื้นที่เมืองชั้นในมีปริมาณสารมลพิษทางอากาศสูงกว่าพื้นที่เมืองชั้นนอก นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากและขาดระบบการบำบัดมลพิษทางอากาศที่มีประสิทธิภาพ หรือพื้นที่ที่มีการเผาในที่โล่ง จะมีปริมาณสารมลพิษทางอากาศสูงกว่าพื้นที่ที่ไม่มีกิจกรรมดังกล่าว

ปัจจัยสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน พื้นที่ที่แตกต่างกันอาจมีปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิอากาศ ความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณฝน และความหนาแน่นของอาคารและต้นไม้ แตกต่างกัน ซึ่งล้วนส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้ เช่น พื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูง จะมีการมุนเวียนของอากาศในแนวดิ่งไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หรือพื้นที่ที่มีลมพัดและมีสภาพเอื้อต่อการถ่ายเทและหมุนเวียนของอากาศ จะทำให้สารมลพิษทางอากาศกระจายตัวได้ดี ไม่สะสมอยู่ในพื้นที่

เครื่องวัดคุณภาพอากาศแตกต่างกัน เครื่องวัดคุณภาพอากาศต่างชนิดกัน จะมีเทคนิคการวัด รวมทั้งความละเอียดและความแม่นยำในการตรวจวัดแตกต่างกัน ส่งผลให้คุณภาพอากาศที่ตรวจวัดได้มีค่าแตกต่างกันได้บ้าง นอกจากนี้ การสอบเทียบ (Calibration) เครื่องมือ ยังมีผลอย่างมากต่อความถูกต้องและความแม่นยำของค่าที่ตรวจวัดได้ ดังนั้น เครื่องมือที่มีมาตรฐาน ให้ผลการตรวจวัดที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ จะต้องผ่านการสอบเทียบและปรับค่าจากโรงงานผลิตหรือจากหน่วยงานที่ให้การรับรองก่อนนำมาใช้งาน และเมื่อนำมาใช้งานแล้ว ควรต้องมีการสอบเทียบเครื่องมือเป็นประจำ

จุดติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศแตกต่างกัน กรณีที่ใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเดียวกัน และติดตั้งอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงกัน แต่หากจุดที่ติดตั้งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ภายในอาคาร ใต้ชายคา ใต้ร่มเงาหรือทรงพุ่มของต้นไม้ หรือกลางแจ้ง ย่อมส่งผลให้คุณภาพอากาศมีค่าแตกต่างกันได้เช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากปัจจัยสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังกล่าวแล้วข้างต้น

วิธีการคำนวณและมาตรฐานคุณภาพอากาศที่ใช้เทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้แตกต่างกัน เครื่องวัดคุณภาพอากาศแต่ละชนิด และแต่ละรุ่น โดยเฉพาะประเภทเซ็นเซอร์ (Sensor) มีวิธีการคิดคำนวณปริมาณสารมลพิษทางอากาศแตกต่างกันขึ้นกับผู้ผลิตแต่ละราย จึงอาจทำให้ค่าที่ตรวจวัดได้มีความแตกต่างกันบ้าง หรือในกรณีการรายงานคุณภาพอากาศในเชิงพื้นที่ โดยนำค่าที่ได้จากการตรวจวัด ณ จุดต่าง ๆ มาประมาณค่าให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการ หากจำนวนข้อมูลที่นำมาใช้ประมาณค่ามีน้อย หรือพื้นที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ค่าที่ประมาณได้อาจมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ นอกจากนี้ มาตรฐานคุณภาพอากาศหรือค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่นำมาใช้เปรียบเทียบกับค่าที่ตรวจวัดได้อาจแตกต่างกัน โดยการตรวจวัดและการรายงานคุณภาพอากาศของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล เปรียบเทียบค่าที่ตรวจวัดและคำนวณได้กับมาตรฐานคุณภาพอากาศ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ซึ่งมี 5 ระดับ ขณะที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากต่างประเทศ มักเปรียบเทียบค่าที่ตรวจวัดและคำนวณได้กับดัชนีคุณภาพอากาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี 6 ระดับ จึงอาจส่งผลให้คุณภาพอากาศที่รายงานมีค่าแตกต่างกันได้เช่นกัน

ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศนี้ ได้จากการประมวลผลความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจวัดโดยรถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณประตู 3 ริมถนนพุทธมณฑลสาย 4 (พิกัดภูมิศาสตร์ 13.794606o N, 100.327256o E) ข้อมูลคุณภาพอากาศที่รายงานใช้เป็นตัวแทนคุณภาพอากาศในรัศมีประมาณ 3 กิโลเมตร จากจุดตรวจวัด

ดังนั้น นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ในรัศมี 3 กิโลเมตร สามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศนี้ในการติดตามคุณภาพอากาศรายชั่วโมงและรายวันได้

อนึ่ง การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป เป็นการตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด แบบต่อเนื่อง ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากนั้น นำมาคำนวณค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) นอกจากนี้ยังตรวจวัดลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาร่วมด้วย

ข้อมูลที่ได้จากรถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแสดงในเว็บไซต์รายงานคุณภาพอากาศ ได้จากเครื่องวัดที่มีมาตรฐาน และมีการสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) เป็นประจำ จึงให้ผลการตรวจวัดที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ

ทั้งนี้ รถตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ระบบเครื่องวัดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครื่องวัดทั้งหมดยังได้รับการยอมรับในระดับสากล และได้การรับรองจากองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency : US EPA) ว่าเป็นวิธีตรวจวัดมาตรฐาน Federal Reference Method (FRM) หรือ วิธีตรวจวัดอ้างอิง Federal Equivalent Method (FEM) ตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำหนด

ใช้ประโยชน์ได้ โดยนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนประชาชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล พื้นที่บางกอกน้อย และพื้นที่พญาไท สามารถเลือกรายการ (Menu) ที่ส่วนแรกของเว็บไซต์ เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ และติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่บางกอกน้อย จากสถานีริมถนนซอยนิคมบ้านพักรถไฟธนบุรี ๕ เขตบางกอกน้อย (b85) และพื้นที่พญาไท จากสถานีริมถนนพญาไท เขตราชเทวี (b4) ได้โดยตรง

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ประโยชน์จากรายการคำถามที่พบบ่อย (FAQs) ซึ่งรวบรวมคำถาม ข้อสงสัย หรือความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อน พร้อมแสดงคำตอบไว้

สำหรับประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร สามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศได้จากเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th หรือ Air4Thai Application และกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร https://bangkokairquality.com ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศได้จากเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ http://air4thai.pcd.go.th

  • สารมลพิษทางอากาศในบรรยากาศที่สำคัญ ได้แก่

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

    • เป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร (ไมครอน)
    • เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในยานพาหนะ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) การเผาในที่โล่ง (เช่น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ) ไฟป่า และการเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม
    • สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่าง ๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพ หลอดลมอักเสบ และมีอาการหอบหืด

  • ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)

    • เป็นฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมโครเมตร (ไมครอน)
    • เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในยานพาหนะ (โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล) การเผาในที่โล่ง (เช่น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ขยะ) การเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้างหรือการโม่หิน
    • เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

  • ก๊าซโอโซน (Ozone : O3)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย
    • ก่อให้เกิดการระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจ และเยื่อบุต่าง ๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง

  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide : CO)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส
    • เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
    • สามารถสะสมในร่างกายได้ โดยรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า ทำให้การลำเลียงออกซิเจนสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

  • ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide : NO2)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย
    • มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ อุตสาหกรรมบางชนิด
    • ส่งผลต่อระบบการมองเห็น และผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur Dioxide : SO2)

    • เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง
    • เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็ก หรือรวมตัวกับน้ำฝนเกิดเป็นฝนกรด
    • ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

  • ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.

มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย เป็นดังนี้


  • หมายเหตุ :
    • มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะสั้น (1, 8 และ 24 ชั่วโมง) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอย่างเฉียบพลัน (Acute Effect)
    • มาตรฐานค่าเฉลี่ยระยะยาว (1 เดือน และ 1 ปี) กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาวหรือผลกระทบเรื้อรัง ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย (Chronic Effect)
    • ppb (part per billion) หรือ ส่วนในพันล้านส่วน
    • ppm (part per million) หรือ ส่วนในล้านส่วน
    • µg/m3 (microgram per cubic meter) หรือ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    • mg/m3 (milligram per cubic meter) หรือ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

  • ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_airsnd01.html#s1.

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ประชาชนทำความเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ และควรปฏิบัติตนอย่างไร

ดัชนีคุณภาพอากาศใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ประกอบด้วย ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ดัชนีคุณภาพอากาศคำนวณจากค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ โดยมีระดับของค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศเทียบเท่ากับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ระดับต่าง ๆ แสดงดังตาราง


การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศภายในช่วงระดับ เป็นสมการเส้นตรง ดังนี้


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.

ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ แต่ละระดับใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 มีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่า ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐาน และคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ. 2562. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ (ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562. แหล่งข้อมูล http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php.