ม.มหิดล โดย กองบริหารงานวิจัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 2

สถาบันฯเด็ก ม.มหิดล จัดงาน “ค่ายเล่นรอบเมือง สร้างพลังการเรียนรู้”
April 29, 2019
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการหลักสูตรนักกายภาพบำบัดชุมชน คลินิกหมอครอบครัว รุ่นที่ 2
April 29, 2019

ม.มหิดล โดย กองบริหารงานวิจัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 2

researcher7

29 เมษายน  2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 2 จัดโดย กองบริหารงานวิจัย สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายนำ เรื่อง “บันไดทางวิชาชีพ” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมอาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อสร้างความมั่นใจว่านักวิจัยรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถสร้างโจทย์วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ผลิตผลงานวิจัยที่มีมาตรฐานสูง ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ตลอดจนกระตุ้นให้นักวิจัยได้มองเห็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศได้ นอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาและอุปสรรคอันจะส่งผลให้นักวิจัยรุ่นใหม่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการวิจัยนานกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา จัดให้มีโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นระบบการช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของทุนวิจัยได้ รวมถึงจะเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีความเข้มแข็งประสบความสำเร็จในอาชีพของการเป็นนักวิจัยอีกด้วย”

World Class University มีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ 1. ทุนมนุษย์ (MAN) เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทักษะ และประสบการณ์ของบุคลากร  2. ทุนทรัพยากร (MONEY) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับเรื่องเงิน และ infrastructure ซึ่งเราต้องใช้ทุนทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 3.การบริหารจัดการ (MANAGEMENT) จำเป็นต้องมีการปลดล็อคกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ นับว่าเรายังมีจำนวนบุคลากรที่ทำวิจัยอยู่ไม่มาก หากแยกกันทำงานจะไม่เกิดผลดีเท่ากับการร่วมกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ซึ่งจะทำให้เราสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ตามสมควร

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการติดอาวุธให้นักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” รุ่นที่ 2 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 29 เมษายน  –1 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมอาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การบรรยายในหัวข้อ “เส้นทางความก้าวหน้า (career path) ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย” การเสวนา “ทิศทางการสร้างงานวิจัยแบบบูรณาการให้ตอบโจทย์ประเทศ” การบรรยาย “การทำวิจัยกลุ่มผู้ใช้งาน (Research User) อย่างมีชั้นเชิง” การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการอย่างไรให้ได้รับทุน : วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำผลงานไปใช้ประโยชน์” Section  1 : ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Section  2 : ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรม การเสวนาพิเศษ “ระบบนักวิจัยที่ปรึกษาสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่” เสวนา “ทำอย่างไรงานวิจัย “ไม่” ขึ้นหิ้ง : การพัฒนานวัตกรรมและการนำไปใช้เชิงพาณิชย์ สังคมและชุมชน” บรรยาย “จริยธรรมการวิจัยในยุคประเทศไทย 4.0” บรรยาย “เทคนิคการนำเสนอโครงการวิจัยและผลงานวิจัยภาษาอังกฤษให้ได้รับการตอบรับในเชิงบวก” การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนบทความวิจัย/บทความวิชาการ” Section  1 : ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Section  2 : ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรม เสวนา “นักวิจัยพี่เลี้ยง : เข็มทิศนำทางชีวิตนักวิจัย” บรรยาย Research to Innovation” บรรยาย “การบริหารจัดการทุนวิจัยอย่างมืออาชีพ” “การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าเพื่อติดตามความก้าวหน้าของนักวิจัยรุ่นใหม่” บรรยาย “การขอและสืบค้นทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” และ บรรยาย “นโยบายการให้ทุนของแหล่งทุนต่างๆ ตามยุทธศาสตร์การวิจัยของประเทศ”

Recent post