วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล จัดพิธีมอบรางวัลการประกวด “วงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติแห่งประเทศไทย ปี 2562”
April 7, 2019
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมดำเนินการทำน้ำให้สะอาดและตรวจสอบคุณภาพน้ำจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
April 7, 2019

ม.มหิดล ร่วมงาน“ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)”

THResearchExpo2019_๑๙๐๔๐๗_0009

7 เมษายน 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นเกียรติในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562 (Thailand Research Expo 2019)” จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็น“ พระบิดาแห่งการวิจัยไทย” และเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างสรรค์ และสร้างแรงขับเคลื่อน เพื่อพัฒนาให้เกิดการนำองค์ความรู้ ผลผลิต เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง

โดยในวันที่ 7 เมษายน 2562 พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานภาคนิทรรศการและเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัยจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 และเข้าเยี่ยมชมบูธเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัย 8 มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งแบ่งผลงานวิจัยออกเป็น 10 คลัสเตอร์ ดังนี้
1) มหาวิทยาลัยมหิดล Cluster Health
2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Cluster Food: Food and Agriculture
3) มหาวิทยาลัยขอนแก่น Cluster Food: Functional Food
4) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Cluster Energy และ Cluster Digital
5) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Cluster Climate Change
6) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Cluster Advance Materials
7) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Cluster Asean Study และ Cluster Robotics
8) มหาวิทยาลัยนเรศวร Cluster Logistics
โดยมหาวิทยาลัยมหิดลมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธาน Cluster Health

ในปีนี้เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) ได้นำผลงานวิจัยเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยมาจัดแสดงนิทรรศการผลงานร่วมกัน เพื่อแสดงถึงความร่วมมือด้านการวิจัยที่เกิดขึ้นในกลุ่มพันธมิตรอย่างแท้จริง รายละเอียดดังนี้

ผลงานวิจัยคลัสเตอร์สุขภาพ เสนอผลงาน 2 ผลงาน ได้แก่
1) ระบบปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งในปลาม้าลายเพื่อคัดกรองหายาต้านมะเร็งแบบแม่นยำ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์เฉลิมชัย มิตรพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2) อาร์เอนเอไบโอเซนเซอร์แบบกระดาษสำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรินทร์ ฉิมณรงค์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
ผลงานวิจัยเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล เสนอผลงาน 1 ผลงาน ได้แก่ เรื่อง “การค้นพบวิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดด้วยยีนบำบัดเป็นครั้งแรกของโลก” ในโครงการวิจัย Gene Therapy in Patients with Transfusion-Dependent β-Thalassemia โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

พร้อมกันนี้ในวันพุธที่ 10 เมษายน 2562 เวลา 10.30 น. คลัสเตอร์สุขภาพได้จัดกิจกรรมเสวนาภายในบูท RUN ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความก้าวหน้าการวิจัยและรักษาโรคมะเร็ง
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์เฉลิมชัย มิตรพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
2) ดร. ศรินทร์ ฉิมณรงค์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูมิ สุขธิติพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
4) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชนพ ช่วงโชติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแสดงนิทรรศการจำนวนกว่า 1,500 ผลงาน โดยมีผลงานจากมหาวิทยาลัยมหิดลที่น่าสนใจ อาทิ “พหุวัฒนธรรมอาเซียนในพื้นที่โลกออฟไลน์และออนไลน์ : พลวัตรการบริหารจัดการและสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในบริบทการย้ายถิ่นข้ามชาติ กรณีศึกษาประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ดร.วิมลศิริ เหมทานนท์ นายสิทธิพร เนตรนิยม และนางสาวภัทราภรณ์ ภูบาลเครื่องดื่มสุขภาพที่มีสารสกัดใบมันสำปะหลังเป็นองค์ประกอบสำหรับต้านการล้า” โดย ดร.วรงค์ศิริ เข็มสวัสดิ์ “จับใจ : ระบบหุ่นยนต์โต้ตอบเพื่อเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าบนเครือข่ายสังคม” โดย ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี “คุณค่าทางโภชนาการ และสมบัติเชิงสุขภาพของผัก และสมุนไพรที่ใช้ในตำรับอาหารไทย” โดย ดร.ปิยะ เต็มวิริยะนุกูล และ “ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิสิต จะวะสิต ร่วมด้วย การประชุม/สัมมนา มากกว่า 600 หัวข้อเรื่องซึ่งจัดขึ้นที่ห้อง Lotus 3-4 ชั้น 22 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมีผู้คุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมบรรยายดังนี้

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น. หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับประเทศไทย 4.0” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัยพินิจ คชภักดี ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: เรื่อง: “พัฒนาการของสมองในเด็กไทยปฐมวัยสำหรับประเทศไทย 4.0 และทักษะใน ศตวรรษที่ 21” (Brain Development for Health Early Life in Thai Children for Thailand 4.0 and 21st Century Skills) รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: เรื่อง: “ติดตามความก้าวหน้าของการวิจัยเรื่องพัฒนาการของสมองส่วนทำหน้าที่บริหารจัดการ (Executive Function of the Brain) สำหรับประเทศไทย 4.0” (Progress of Research on the Development of Executive (EFs) of the Brain for Thailand 4.0) รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี อดีตผู้อำนวยการก่อตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และอดีตหัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็ก และอาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Tentative topic: “โครงการคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย: รายงานผลความก้าวหน้าและผลกระทบกับ พัฒนาการเด็กไทย” (Developmental Screening and Health Promotion Program for Early Childhood (DSPM): A Progress Report and Impact on Development of Thai Children) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “รายงานความก้าวหน้างานวิจัยด้านพัฒนาการสมองส่วนหน้าที่บริหารจัดการ (Executive Functions of the Brain): การศึกษาด้านสรีระวิทยาไฟฟ้าและพฤติกรรม” (Research Progress Report on development of Executive Function of the Brain in Thai Children Electrophysiological and Behavioral studies)

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2562 เวลา 13.30 – 16.30 น. หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพคนไทยให้นอนหลับได้ดี และมีอายุยืนยาว และชีวิตที่เป็นสุข” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัยพินิจ คชภักดี ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “Introduction to sleep, research and importance of sleep on health, longevity and happiness” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิสาข์สิริ ตันตระกูล ศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี หัวหน้าหน่วยโรคระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “รายงานการวิจัยโรคความผิดปกติของการนอนหลับในมารดาระหว่างตั้งครรภ์” (Sleep and Sleep Disorders during Pregnancy)

วันอังคารที่ 9 เมษายน 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น. (เวลาเช้า) หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตคนไทยให้มีชีวิตที่เป็นสุข” (Thailand Mental Health Promotion Research 2019) วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัยพินิจ คชภักดี ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “ยุทธศาสตร์การวิจัย ที่ทำให้คนไทยไม่เป็นโรคเครียด เซ็ง – ซึมเศร้า จนฆ่าตัวตาย” รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรพรรณ เสนาณรงค์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทวิทยา Director of Behavioural and Neurodegenerative Disease, Director of Memory Clinic, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “Current Strategic Research on Senile Dementia and Alzheimer’s Disease in Thailand” ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ บุญเกิด อดีตหัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “Strategic Research on Impact of Physical Activity and Diet on the Development of Dementia, chronic Kidney Disease, Diabetes and Cardiovascular Disease in a Thai General Populationแพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน อดีตหัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Tentative topic: “Long-term Care of Elderly with Dementia and Alzheimer’s disease in Thailand

โดยในส่วนของการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย มีผู้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ “การพัฒนาสื่อหนังสือเล่าเรื่องและตุ๊กตา Say Yes! Say No! and Go-Away (SYN-GO) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัฐบาล กรุงเทพมหานคร” โดย นางสาวอริสา โพธิ์ชัยสาร และ “วิถีชีวิตของขาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดย นางสาวศิริพรรณ หุตะโชค

ติดตามรายละเอียดทั้งหมดได้ทาง www.researchexpo.nrct.go.th หรือ www.nrct.go.th

Recent post