ม.มหิดล ร่วมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตรภารกิจ Research Integrity”

พิธีมอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดโครงการ “Mahidol Energy Awards 2018”
November 28, 2018
พิธีเปิด “ชมรมกีฬาภาษาและวัฒนธรรม” (LCSC) ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรเอเชีย ม.มหิดล
November 28, 2018

ม.มหิดล ร่วมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตรภารกิจ Research Integrity”

research-5

28 พฤศจิกายน 2561 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “บทบาทและภารกิจด้าน Research Integrity” ในการเสวนาเรื่อง“ เครือข่ายพันธมิตรภารกิจ Research Integrity” จัดโดย ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ ห้องแซฟไฟร์ 1 – 2 ชั้น 2 โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ

การเสวนาในครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานด้าน Research Integrity ระหว่างหน่วยงานที่ทำภารกิจด้านนี้ของแต่ละสถาบัน หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใกล้เคียงของแต่ละสถาบัน เพื่อวางกลไกการป้องกันการประพฤติมิชอบทางการวิจัยของประชาคมวิจัยของประเทศ และเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต

สถาบันที่เข้าร่วมเสวนา “เครือข่ายพันธมิตรภารกิจ Research Integrity” มีจำนวน 56 แห่ง ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยมหิดล 2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 6.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 8.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 9.มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ 10.มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 12.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 13.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 14.มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 15.มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 16.มหาวิทยาลัยเกริก 17.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 18.มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 19.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 20.มหาวิทยาลัยธนบุรี 21.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 22.มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 23.มหาวิทยาลัยรังสิต 24.มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 25.มหาวิทยาลัยศรีปทุม 26.มหาวิทยาลัยสยาม 27.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 28.มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 29.มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 30.มหาวิทยาลัยรามคำแหง 31.มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 32.มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 33.มหาวิทยาลัยคริสเตียน 34.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 35.มหาวิทยาลัยชินวัตร 36.มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 37.มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 38.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 39.สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ 40.สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 41.สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 42.มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 43.มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 44.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 45.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 46.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 47.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 48.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 49.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 50.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 51.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 52.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 53.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. 54.ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสวทช. 55.ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติสวทช. และ 56.ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับคือ เป็นแนวทางการส่งเสริมการผลักดันงานด้านคุณภาพ และจริยธรรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทย เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

Recent post