ม.มหิดล-สสว. ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย

พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Memorandum of Understanding) ระหว่าง คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล และ Chung Shan Medical University, College of Oral Medicine
November 26, 2018
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล เข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาคุณภาพของสถาบัน “MUSIQUE” เพื่อการรับรองคุณภาพในหลักสูตรปริญญาตรีสาขาดนตรี ของวิทยาลัยฯ MUSIQUE
November 26, 2018

ม.มหิดล-สสว. ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย

S__16171129

26 พฤศจิกายน 2561 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงพัชรีย์ เลิศฤทธิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นายวชิระ แก้วกอ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สสว. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม กับมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 408 ชั้น 4 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดล โดยบัณฑิตวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือทางวิชาการ เพื่อพัฒนาการศึกษา การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการ เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนทั่วไป นักกีฬาสมัครเล่น และนักกีฬาอาชีพ อีกทั้งมีเจตน์จำนงค์อย่างแน่วแน่ที่จะร่วมมือในการศึกษาการวิจัยการบริการวิชาการการพัฒนาบุคลากรการฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจด้านกีฬาของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยมหิดล โดยบัณฑิตวิทยาลัย มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและงานวิจัยที่ครอบคลุมศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านกีฬาภายใต้ส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และสถาบันโภชนาการ ซึ่งศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬานี้จะเป็นวิทยาการที่ประเทศไทยให้ความสำคัญและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมคุณภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนรวมถึงการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาสมัครเล่น และนักกีฬาอาชีพ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังมีความพร้อมและศักยภาพในการให้การสนับสนุนในด้านวิชาการและองค์ความรู้ต่างๆ ในด้านกีฬาให้กับผู้ประกอบการและสามารถสร้างโอกาสยกระดับผู้ประกอบการ SME ได้ในหลากหลายกลุ่มเช่นกลุ่มฟิตเนตกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อนักกีฬาเป็นต้นสำหรับศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางด้านกีฬามหาวิทยาลัยมหิดลมีครบทั้ง 7 ศาสตร์ ได้แก่ เวชศาสตร์การกีฬา โภชนาการ จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์ สรีระวิทยา การฝึกสอนกีฬา การจัดการกีฬา ซึ่งองค์ความรู้ในศาสตร์ดังกล่าวจากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถให้การสนับสนุนเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการทางด้านกีฬาให้มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ SME ได้อย่างดียิ่ง เช่น

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มีการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโท และปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาการร่วมมือ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และบุคคลทั่วไป เช่น การร่วมมือกับผู้ประกอบการในการทำวิจัยเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เช่นชุดชั้นในสุภาพสตรีสำหรับการออกกำลังกาย รองเท้ากีฬาสำหรับกีฬาแต่ละประเภท คลินิกทางด้านกีฬา และการทดสอบผลิตภัณฑ์

สถาบันโภชนการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มีการสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ รวมถึงการวิจัย และบริการวิชาการ ได้แก่ การประเมินภาวะโภชนาการ เครื่องมือที่ใช้วัดองค์ประกอบของร่างกาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร และเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา และคนไข้ โปรแกรมประเมินคุณค่าสารอาหาร การให้คำปรึกษา และองค์ความรู้ด้านโภชนาการ

คณะกายภาพบำบัด มีคลินิกกายภาพบำบัดให้กับนักกีฬา หรือการดูแลนักกีฬาในการแข่งขัน การดูแลประเมินอาหารบาดเจ็บให้กับคนทั่วไป นักกีฬา และผู้ออกกำลังกาย

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มีการสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทการจัดการการกีฬา ซึ่งเน้นการทำธุรกิจทางด้านกีฬาให้มีความยั่งยืน การใช้ศาสตร์การจัดการจากหลายๆ คณะของมหาวิทยาลัย รวมถึงการจัดอบรมระยะสั้นให้ความรู้กับผู้ประกอบการด้านการกีฬา

และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ Cyborg Olympic เป็นการพัฒนาอุปกรณ์กระตุ้นคนพิการครึ่งซีกเพื่อใช้ในการแข่งกีฬาได้ โดยการควบคุมทางสมอง ซึ่งอนาคตจะนำไปใช้ในการแข่งขันอีก 4 ปีข้างหน้า การพัฒนาเครื่องใช้วัด และทำนายความบาดเจ็บของนักกีฬากอล์ฟ เครื่องตรวจวัดอารมณ์และฝึกสมาธินักกีฬา เครื่องมือฝึกการต่อยมวย การพัฒนาเซ็นเซอร์วัดความแรง ความเร็วต่อสู้สำหรับการฝึกซ้อมเทควันโด้

ภายใต้กรอบความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงนี้สสว. และมหาวิทยาลัยมหิดลหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นก้าวที่สำคัญในความร่วมมืออย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้าง และให้โอกาสผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย นำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปบรูณาการ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการภาคธุรกิจด้านการกีฬาสู่ “ไทยแลนด์เอสเอ็มอี 4.0”

Recent post