สัมภาษณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “ข้าวปิ่นแก้ว-ข้าวสมเด็จพระสังฆราชทรงประทาน”

ม. มหิดล เข้าร่วมประชุมหารือโครงการ ASEAN in Today’s World (AsTW) จัดโดย ASEAN Secretariat และ Kyushu University ที่ University of Malaya
February 21, 2019
พิธีปิดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 136
February 22, 2019

สัมภาษณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “ข้าวปิ่นแก้ว-ข้าวสมเด็จพระสังฆราชทรงประทาน”

rice5

วันที่ 20 กุภาพันธ์ 2562 ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์และเสวนา ร่วมกับทีมงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม เรื่อง “ข้าวปิ่นแก้ว-ข้าวสมเด็จพระสังฆราชทรงประทาน”ดร.วิวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าตำแหน่งรัตฐมนตรีช่วยฯ แล้วได้กราบนมัสการสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ท่านมีพระดำริตอนหนึ่งว่า “ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่นและการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่ดีงามให้คงอยู่สืบต่อไป ดังเช่น ข้าวปิ่นแก้ว ที่พระองค์ท่านเคยเสวยตอนเด็กๆ แต่ปัจจุบันไม่มีใครปลูกแล้ว รวมถึงประเพณีการทำขวัญข้าว เพื่อรับแม่พระโพสพ ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวสู่คนรุ่นหลัง ซึ่งแนวโน้มในอนาคตภูมิอากาศจะแปรปรวน บางพื้นที่อาจมีน้ำท่วม บางพื้นที่อาจจะแห้งแล้ง ในอนาคตคนไทยอาจต้องซื้อข้าวมาทาน ในส่วนข้าวปิ่นแก้วนี้้ เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีมาแต่โบราณที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศของการแข่งขันประกวดข้าวระดับโลก โดยข้าวชนิดนี้จะสามารถหนีน้ำท่วม หรือทนแล้งได้ดี เพราะลำต้นสูงมาก รวมทั้งต้นข้าวสามารถป้องการโรคพืชต่างๆ ได้หลากหลายชนิด ซึ่งต่อมามีผู้แจ้งข่าวเรื่องข้าวปิ่นแก้ว ที่มีการปลูกโดยชาวเกษตรกรบ้านคลองโยง ได้เรียนเชิญให้ นายบุญลือ เจริญมี ประธานสหกรณ์บ้านคลองโยง และนายโชติ สายยืนยง ปราชญ์ชุมชนคลองโยง ให้เข้าพบและนำต้นข้าวมาทูลถวายแด่สมด็จพระสังฆราช พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรแล้วจึงทรงประทานกลับให้กับชุมชน เพื่อนำไปปลูกบนแปลงนาข้าวของชุมชน

ในการนี้ ผศ.ดร.ณัฐวรรณ์ ยศวัฒน รองอธิการบดีฝ่ายวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการเพื่อสังคมโดยนำความรู้ทางวิศวกรรมไปช่วยชุมชนในเรื่องของการแปรรูปอาหาร หรือสินค้าเกษตร หรืออื่นๆ โดยการเลือกชุมชนโดยรอบ ม.มหิดล เพื่อสะดวกในการเดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ข้าวปิ่นแก้วนั้น ได้รับความช่วยเหลือจาก ประธานมูลนิธิรากแก้ว ได้ติดต่อประสานงานขอเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 10 กรัม (300 เมล็ด) จากศูนย์วิจัยกรมการข้าว (ปทุมธานี) มาปลูกในแปลงนาทดลอง โดยทางคณะได้จัดโครงการทำพิธีต่างๆเกี่ยวกับเรื่องข้าวมาตลอด 2 ปี โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์ พร้อมด้วยชุมชนมาร่วมกิจกรรมด้วยโดยทางมูลนิธิรากแก้วได้ให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมด้วย ซึ่งในช่วง 2 ปีแรกการปลูกข้าวไม่ได้ผลผลิตตามที่คาดการณ์ไว้ ก่อนจะสัมฤทธิ์ผลที่จะได้ผลผลิตในปีนี้ นอกจากนี้ทางคณะยังมีอีกหลายโครงการที่เป็นโครงการวิจัยฯช่วยชุมชนแห่งนี้ เช่น เครื่องดื่มรำข้าวพรีเมี่ยม ฟางข้าวทำเยื่อกระดาษ หรือทำอิฐมวลเบา รวมทั้งโรงสีข้าวชุมชนให้ได้การรับรองมาตรฐาน GMP การผลิตปุ๋ยชีวะอินทรีย์ผักตบชวา เป็นต้น

Recent post