ม.มหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System ระหว่าง สกอ. สกว. และ 25 สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มภาคกลาง

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “International Workshop on Impact Evaluation of Population, Health and Nutrition Programs”
October 1, 2018

ม.มหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System ระหว่าง สกอ. สกว. และ 25 สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มภาคกลาง

mou7

1 ตุลาคม 2561 ณ ห้อง Eternity DayLight Ballroorn โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามความร่วมมือ (MOU) สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดย นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานใหญ่ของกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ รองผู้อำนวยการด้านการบริหาร และรักษาการผู้อำนวยการฝ่านสำนักงาน สกว. และ สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มภาคกลาง จำนวน 25 สถาบัน ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ เป็นหัวหน้าโค้ชภาคกลาง กลุ่ม 4 โดยอธิการบดี หรือผู้มีอำนาจลงนามผูกพันมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ฉบับนี้ 25 มหาวิทยาลัย สกอ. และ สกว. ตกลงที่จะร่วมกันสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานวิจัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถสร้างโจทย์วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ผลิตผลงานวิจัยที่มีมาตรฐานสูง และมีการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ตลอดจนกระตุ้นให้นักวิจัยมองเห็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศให้เกิดผลสำเร็จและพัฒนาอย่างสมบูรณ์ โดย สกอ. และ ฝ่ายวิชาการ สกว. ได้มีการสนับสนุนทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ รวมถึงทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่อย่างต่อเนึ่องกว่า 10 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาผ่านมาพบว่า นักวิจัยรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งไม่สามารถสิ้นสุดโครงการได้ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากประสบปัญหาในการทำงานวิจัยหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาระงานสอนและบริการวิชาการค่อนข้างมาก ไม่มีเวลาทำวิจัย เครื่องมือในการทำวิจัยไม่เพียงพอ บทความวิชาการถูกปฏิเสธจากวารสารวิชาการนานาชาติ ขาดประสบการณ์ในการทำวิจัย ไม่มีเครือข่าย ไม่เข้าร่วมกลุ่มวิจัย ไม่ได้ทำงานวิจัยในด้านที่ถนัด ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำวิจัย และอื่นๆ เช่น ตั้งครรภ์ ปัญหาสุขภาพ เป็นต้น โดยทั้ง 25 สถาบันอุดมศึกษาจะส่งเสริมให้มีหน่วยสนับสนุนโครงการการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล การประสานความร่วมมือระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentor) และทีมโค้ชการประชาสัมพันธ์โครงการ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงการสนับสนุนด้านอึ่นๆ เช่น สำนักงาน หรือ สถานที่และสาธารณูปโภค ในการทำงานสำหรับทีมโค้ช เพึ่อการบริหาร และประสานงานจัดการเกี่ยวกับข้อมูลและเอกสาร เพื่อดำเนินโครงการ หรือสถานที่สำหรับจัดประชุม อบรม หรือเป็นเวทีในการนำเสนอผลงาน สำหรับการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ ผ่าน Multi Mentoring System ในสถาบันอุดมศึกษา ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิผล โดย MOU ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

Recent post