สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมการประชุมในหัวข้อ “Innovations for the Development of Food Based Dietary Guidelines (FBDGs): Integrating Sustainability of Food System”

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ Early Nutrition eAcademy Southeast Asia (ENeA SEA)
October 27, 2018
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล จัดโครงการ “ทอดกฐินสามัคคี เพื่อยกระดับวัด และชุมชน” ณ วัดโป่งพรานอินทร์ จ. สุพรรณบุรี
October 29, 2018

สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ร่วมการประชุมในหัวข้อ “Innovations for the Development of Food Based Dietary Guidelines (FBDGs): Integrating Sustainability of Food System”

23 - 25 Oct 2018

วันที่ 23 – 25 ตุลาคม 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ สรณเจริญพงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ผู้เชี่ยวชาญไทยในการพัฒนาข้อปฎิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย หรือ ธงโภชนาการ” เข้าร่วมการประชุมกับผู้เชี่ยวชาญนานาชาติกว่า 20 ประเทศ ในหัวข้อ “Innovations for the Development of Food Based Dietary Guidelines (FBDGs): Integrating Sustainability of Food System” ซึ่งจัดโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) และ Wageningen University and Research Centre ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนา FBDGs ที่ผ่านมาของประเทศต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญทั้งทวีปอเมริกาเหนือ กลาง และใต้ ผู้เชี่ยวชาญจากทวีปแอฟริกา ผู้เชี่ยวชาญจากทวีปยุโรป และผู้เชี่ยวชาญจากทวีปเอเซีย โดย ผศ.ดร. กิตติ เป็นตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยที่ได้พัฒนา FBDGs เป็นประเทศแรกๆ ในทวีปเอเซีย อีกทั้งการประชุมครั้งนี้ได้วางแผนในการเขียนแนวทางการพัฒนา FBDGs ในอนาคตสำหรับประเทศต่างๆ ซึ่งได้มีการคำนึงถึงระบบข้อมูลโภชนาการที่จำเป็น แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีในการจัดรูปแบบอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและวัฒนธรรมการกินของคนในประเทศนั้นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการที่มีอยู่ ตลอดจนคำนึงถึงแนวคิดของความยั่งยืนของระบบอาหารและสภาพแวดล้อมของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนแนวทางของการประเมินผล FBDGs อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ FBDGs ของแต่ละประเทศที่กำลังพัฒนาหรือกำลังจะปรับปรุงได้เป็นเครื่องมือสำหรับการให้ความรู้ประชาชน เป็นเครื่องมือสำหรับผู้วางแผนนโยบายระบบอาหารและโภชนาการของประเทศ แนวทางการพัฒนานี้ FAO ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญนานาชาติสหสาขามากกว่า 30 คน ที่จะร่วมมือกันเขียนองค์ความรู้ดังกล่าวและดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จเพื่อเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2562

Recent post