วิศวะมหิดลจับมือ TCELS กระทรวงวิทย์ จัดประชุมนานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS 2019)

นักศึกษา ICT มหิดล คว้ารางวัล ในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The eighteenth Thailand IT Contest Festival: IT 2019)
March 15, 2019
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.มหิดล จัดพิธีเปิดกิจกรรมค่ายพัฒนานักเรียน ICT รุ่นเยาว์ (ICT JUNIOR CAMP) ครั้งที่ 11
March 18, 2019

วิศวะมหิดลจับมือ TCELS กระทรวงวิทย์ จัดประชุมนานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS 2019)

155646

ครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเซียแปซิฟิค โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ริเริ่มเป็นเจ้าภาพจัดในนามประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดีเดย์เปิดประชุมนานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง หรือ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS 2019) ในวันที่ 15 – 16 มีนาคม ณ ห้องกมลทิพย์ 2-3 โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา โดยมี ศาสตราจารย์คลินิค นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดงาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ท่ามกลางผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิจัย วิศวกร ผู้ผลิต ซัพพลายเออร์จากนานาประเทศ ได้แก่ อังกฤษ , สหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , สิงคโปร์ ไต้หวัน , อินเดีย เป็นต้น

ศ. คลินิค นายแพทย์อุดม คชินทร (Udom Kachintorn) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ในระยะการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 และรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และชีวการแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve วันนี้จึงเป็นวันที่น่ายินดี ที่ประเทศไทยได้ริเริ่มเป็นเจ้าภาพ จัดงานประชุมนานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง หรือ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS 2019 )ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่เสริมสร้างเครือข่ายอันแข็งแกร่งระหว่างผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์การแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ระดับสูง สร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยและประชาคมโลก โดยร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการผลิตและการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์การแพทย์ระดับสูง เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตอันดีของประชาชนและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการแพทย์ในหลายภูมิภาคโลก ในวันนี้ยังมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือเป็นหุ้นส่วน ระหว่าง ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ Center for Biomedical and Robotics Technology (BART LAB) กับ แฮมลีน เซนเตอร์ มหาวิทยาลัยของอิมพีเรียล (HAMLYN CENTRE , Imperial College) แห่งประเทศอังกฤษ

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ (Jackrit Suthakorn) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า iAMRS 2019 นับเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญ ชูบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูงบนเวทีโลก ผนึกพลังเป็นหนึ่งเดียวกันในการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยและการผลิตหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Advanced Medical Robotics) ซึ่งกำลังทวีบทบาทในการดูแลบำบัดรักษาสุขภาพด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทันสมัยและปลอดภัย โดยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยและหลายประเทศ ที่สำคัญช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายต่างๆ ตลอดจนผลกระทบจากการผ่าตัดรักษา ทั้งนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้เริ่มสร้างศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง (Advanced Medical Robotics Center) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลค่าการลงทุน 400 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยศูนย์นี้จะมุ่งพัฒนาเปลี่ยนงานวิจัยให้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป นับเป็นการกระตุ้นและสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์การแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ระดับสูงของประเทศ

สาระของการประชุมนานาชาติหุ่นยนต์การแพทย์ระดับสูง หรือ The 2019 International Advanced Medical Robotics Symposium (iAMRS 2019) ครอบคลุมเกี่ยวกับ หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotics in Surgery) , หุ่นยนต์พยาบาลดูแลผู้สูงวัย (Robotics for Rehabilitation and Elderly) , มาตรฐาน กฏและข้อบังคับสำหรับหุ่นยนต์การแพทย์ (Standards, Rules and Regulations) , หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพและหุ่นยนต์โรงพยาบาล (Healthcare/Hospital Robotics) , ดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ในการแพทย์ (Digital and AI in Medicine) , อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอุปกรณ์การแพทย์ (Medical Robotics and Device Industry)

Recent post