พิธีเปิดหน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

เสวนาวิชาการเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เรื่อง “เราจะไม่เงียบอีกต่อไป”
March 8, 2019
พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2562 “มหิดลเกมส์”
March 8, 2019

พิธีเปิดหน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

256861FA-122C-43C6-A67A-5E4D527C722A

8 มีนาคม 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเงิน 24,149,900 บาท (ยี่สิบสี่ล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นเก้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) ในการดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สำหรับพัฒนาห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ที่มีระบบดูดไอฟอร์มาลีนตามมาตรฐานความปลอดภัย สำหรับสุขภาพผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งขณะนี้การดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ จึงได้เชิญ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ในพิธีเปิดหน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดตั้งและพัฒนา “หน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” และบทบาทของคณะวิทยาศาสตร์ในการสอนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ อาคารวิทยาศาสตร์ 3 ชั้น 2 ห้อง (SC3-208) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะนายแพทย์คนหนึ่งผมตระหนักดีว่าแม้ว่าร่างกายของมนุษย์โดยทั่วไปจะมีลักษณะโครงสร้างตำแหน่ง และความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และอวัยวะในร่างกายที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามในแต่ละบุคคลยังมีความผันแปรของโครงสร้างในร่างกายที่แตกต่างจากปกติ ซึ่งอาจไม่มีการแสดงอาการของโรคเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อให้การรักษา หรือเข้าผ่าตัดโครงสร้างที่มีความฝันแปรนี้ไม่เกิดผลข้างเคียงขึ้น ทั้งขณะผ่าตัดและ / หรือหลังการผ่าตัดจึงต้องอาศัยข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์ของโครงสร้างที่แม่นยำ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยจากร่างอาจารย์ใหญ่โดยตรง เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อช่วยการเรียนรู้จึงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ในกระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะการเรียนการสอนด้านกายวิภาคศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย จึงได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง “หน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” นี้ขึ้น ผมมีความเชื่อมั่นว่าหน่วยดังกล่าวนี้จะสร้างมิติใหม่ในการเรียนรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และของประเทศไทย เพื่อเพิ่มพูนทักษะ และองค์ความรู้ให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงด้านการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ของประเทศ และของภูมิภาคได้เป็นอย่างดี

ในงานได้มีการจัดให้ชมจุดแสดงงานจำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 “การเรียนการสอน Basic Anatomy” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ ศุภมั่งมี จุดที่ 2 ได้แก่ “การเรียนการสอน Biomedical Anatomy under HVAC System” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา “มาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนการสอนและวิจัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ชัยธีระยานนท์ และอาจารย์ ดร.ธนพงศ์ เครื่องคำ และ “การบริจาคร่างกายและเตรียมร่างอาจารย์ใหญ่” โดย อาจารย์ นายแพทย์ชินวุฒิ สุริยนเปล่งแสง และอาจารย์ ดร.ธนพงศ์ เครื่องคำ จุดที่ 3 “การพัฒนาสื่อการสอนสามมิติ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล (หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และจุดที่ 4 “นิทรรศการงานวิจัยเกี่ยวกับอาจารย์ใหญ่” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไกร มีมล และอาจารย์ นายแพทย์ชินวุฒิ สุริยนเปล่งแสง

Recent post