ดร.กรกมล เลิศสุวรรณ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ประจำปีงบประมาณ 2562 รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

พิธีทำบุญหอพักนักศึกษา (บ้านมหิดล) ประจำปีการศึกษา 2561
March 22, 2019
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA ส่วนงาน) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
March 22, 2019

ดร.กรกมล เลิศสุวรรณ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ประจำปีงบประมาณ 2562 รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

award

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในประชากรชายทั่วโลก และเป็นหนึ่งในมะเร็งที่มักแพร่กระจายไปยังกระดูก เมื่อเกิดการแพร่กระจายนี้แล้วจะส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกแตกหักง่าย นำมาซึ่งความเจ็บปวด และการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนที่ของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา หรือป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมากไปยังกระดูกที่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่สามารถระบุชนิดของโปรตีน ได้แก่ โปรตีนฟิบูลินวัน ซึ่งหลั่งออกมาโดยเซลล์ไขกระดูก และมีฤทธิ์สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากแม้ในระยะรุกรานไปยังกระดูกได้ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านชีวเคมีสมัยใหม่มาใช้ในการศึกษา เช่น การลดการแสดงออกของยีนฟิบูลินวัน ในเซลล์ด้วยเทคนิค CRISPR / Cas9 นำมาสู่การเผยแพร่เทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้สู่ประเทศไทยอีกด้วย

การศึกษานี้นอกจากจะเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ไขกระดูกชั้นสตอร์มาล และเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปออกแบบการศึกษาเพื่อพัฒนายาที่สามารถป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลามไปยังกระดูก การศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาแรกที่สามารถระบุชนิดของโปรตีนที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นยาที่สามารถป้องกันการรุกรานของมะเร็งต่อมลูกหมากไปยังกระดูกได้ในอนาคต รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาการใช้ฟิบูลินวัน ในการยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งชนิดอื่นที่แพร่กระจายไปยังกระดูกได้

ดร.กรกมล เลิศสุวรรณ กล่าวฝากว่า “อยากให้นักศึกษาตระหนักว่า งานวิจัยที่เราทำไม่ได้จบแค่การทำวิทยานิพนธ์ เพราะทั้งความรู้ที่ได้ และทักษะต่างๆ ที่ได้ระหว่างเรียน จะต้องเอาไปใช้ต่อในการทำงาน และงานวิจัยในอนาคต เมื่อต้องทำงานวิจัย อยากให้นักศึกษาลองไตร่ตรองดูว่า งานวิจัยที่เราจะทำนั้นมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ทำไมเราถึงต้องทำ และผลงานนี้จะเป็นประโยชน์อะไรต่อโลกใบนี้บ้าง อยากให้นักศึกษาเริ่มคิดเรื่องเหล่านี้แต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นแรงผลักดันในการศึกษาและการทำงานวิจัยในอนาคต

Recent post