ICT มหิดล คิดโปรแกรม “ระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดิน”

ม.มหิดลเป็นที่ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ 4icu.org
February 12, 2019
อธิการบดี ม.มหิดล ได้ร่วมบรรยาย ใน Panel Discussion หัวข้อ “Opportunities in Entrepreneurship for ASEAN Universities”
February 13, 2019

ICT มหิดล คิดโปรแกรม “ระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดิน”

ict3

การแยกอัตลักษณ์ตัวบุคคลในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะทางชีวภาพในการจำแนกเป็นหลัก เช่น ภาพลายพิมพ์นิ้วมือ ภาพถ่ายดวงตา และภาพใบหน้า ซึ่งข้อมูลทางชีวภาพเหล่านี้ไม่สามารถใช้กับระบบกล้องวงจรปิดได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ลายนิ้วมือต้องการการสัมผัสกับอุปกรณ์อ่าน ดวงตาไม่สามารถถูกอ่านในกล้องคุณภาพต่ำและในระยะไกล ใบหน้าไม่สามารถถูกบันทึกได้ในบางมุมกล้อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้พัฒนาวิธีการและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำความเข้าใจ ทั้งภาพและวิดีโอโดยอัตโนมัติได้ด้วย การระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำากัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน โดยในงานวิจัยนี้ได้นำลักษณะทางชีวภาพทางเลือกนั่นคือ “รูปแบบการเดิน” มาใช้ในการระบุตัวบุคคล ซึ่งได้ผ่านการศึกษาแล้วว่าเป็นหนึ่งในข้อมูลเฉพาะของบุคคล

ดร.วรพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในช่วงแรกที่พัฒนาโปรแกรมดังกล่าว และได้ทำการทดสอบกับข้อมูลในห้องทดลองแล้ว ให้ความแม่นยำที่สูงมาก แต่เมื่อนำมาทดสอบกับข้อมูลในสภาวะจริงที่มีการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไข และสภาพแวดล้อมของการเดิน เช่น ความเร็วของการเดิน ทิศทางของการเดิน และเสื้อผ้าที่สวมใส่ ทำให้ความแม่นยำในการจดจำลดลง เราจึงวิจัยต่อยอดในการระบุอัตลักษณ์โดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน โดยการดึงข้อมูลภาพและวิดีโอที่มีความคงที่ในรูปแบบของ spatial-temporal description ซึ่งถือเป็นการใช้เทคนิคการคำนวนขั้นสูงในการประมวลผลภาพ จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่ที่ต้องการ เนื่องจากวิธีการที่พัฒนามาใหม่นี้ ถูกคิดค้นบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง และสามารถนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง smart city เมืองอัจฉริยะ โดยเพิ่มความฉลาดแบบอัตโนมัติให้กับระบบกล้องวงจรปิด ในการใช้ข้อมูลไบโอแมทริกซ์ในการระบุอัตลักษณ์บุคคล สร้างความแม่นยำในการใช้รูปแบบการเดิน และภาพใบหน้าประกอบกันได้

ซึ่งผลงาน “การระบุอัตลักษณ์และจดจำบุคคลโดยใช้รูปแบบการเดินภายใต้การไม่จำกัดเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมของการเดิน” เพิ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัย ระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

Recent post