สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พลังขับเคลื่อนสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง”

การประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งความสุขและนักบริหารจัดการองค์ความรู้
February 14, 2019
ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการรับรองมาตรฐาน Test facility ตามหลักการ OECD GLP มุ่งเป้าพัฒนาเป็นหน่วยงานทดสอบความปลอดภัยระดับนานาชาติ
February 15, 2019

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พลังขับเคลื่อนสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง”

ricl09

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย กล่าวรายงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ “พลังขับเคลื่อนสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง” จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบโล่ให้กับผู้นำท้องถิ่น จำนวน 5 คน ณ สถาบันสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “พลังขับเคลื่อนสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง” : สร้างนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศโดยมีผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ จากทั้ง 5 พื้นที่ มีจำนวน 58 คน พี่เลี้ยง นสส. วัยเพชร จำนวน 14 คน และผู้นำท้องถิ่น 5 คน ซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) มีเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมศักยภาพให้ผู้สูงวัยเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่รู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้สูงวัยเห็นคุณค่า ศักยภาพ และพลังของตนเองในการร่วมขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะโดยใช้ “การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม” เป็นกลไกหลักในการดำเนินการวิจัย โดยมีพื้นที่ดำเนินงานวิจัย คือ โรงเรียนผู้สูงอายุ 5 โรงเรียนจากแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนครเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลชะมาย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการรวม 300 คน ตลอดระยะเวลากว่า 10 เดือนที่ผ่านมา นักเรียนผู้สูงอายุทั้ง 5 โรงเรียน ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ผ่าน คาถารู้ทันสื่อ 4 คำ “หยุด คิด ถาม ทำ” พร้อมกับได้รับการเสริมศักยภาพในการเป็นนักสื่อสารสุขภาวะ หรือ นสส ที่รู้เท่าทันสื่อตลอดจนได้มีการคัดเลือกแกนนำนักเรียนผู้สูงอายุอาสาเป็นคณะกรรมการนักสื่อสารสุขภาวะหรือ นสส วัยเพชร เพื่อจัดทำแผนและปฏิบัติการสื่อสารให้กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนของตนได้เรียนรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ อีกทั้งยังเป็นการขยายการสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงอายุในชุมชนให้แผ่กว้างออกไปอีกด้วย และที่สำคัญคือสร้างให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าและพลังของตนเองในการทำหน้าที่พลเมืองอย่างกระตือรือร้นของสังคมไทย อันจะเป็นแนวทางในการต่อยอดการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุไทยสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตท่ามกลางภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Recent post