สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการประจำปี 2561 “Well-being in Thailand : Dream or Reality?” (ความอยู่ดีมีสุขในสังคมไทย : ความฝันหรือความจริง)

พิธีเทิดพระเกียรติ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
June 29, 2018
วันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ ปีที่ 61
June 29, 2018

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการประจำปี 2561 “Well-being in Thailand : Dream or Reality?” (ความอยู่ดีมีสุขในสังคมไทย : ความฝันหรือความจริง)

ipsr6

29 มิถุนายน 2561 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์โชคชัย เมธีไตรรัตน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการประจำปี 2561 จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง “Well-being in Thailand : Dream or Reality?” (ความอยู่ดีมีสุขในสังคมไทย : ความฝันหรือความจริง) ณ โรงแรมเดอะรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนามนุษย์ ธนาคารโลก แสดงปาฐกถานำ เรื่อง “ความอยู่ดีมีสุขเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม” เป็นประจำทุกปี ติดต่อกันมาเป็นเวลา 14 ปี เพื่อให้เป็นเวทีที่นักวิชาการด้านประชากรและสังคมสามารถคืนความรู้สู่สังคมได้ โดยทุกปีจะเลือกสรรประเด็น (theme) การประชุมที่แตกต่างกัน แต่จะสอดคล้องและทันกับสถานการณ์ของสังคมในขณะนั้น สำหรับหัวข้อเรื่อง “Well-being in Thailand : Dream or Reality?” (ความอยู่ดีมีสุขในสังคมไทย : ความฝันหรือความจริง) ที่จัดขึ้นในปีนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ใกล้เคียงกับแนวคิด “ความอยู่ดีมีสุข” ซึ่งประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ สุขภาพอนามัยและโภชนาการ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว การเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้และสวัสดิการ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และประชารัฐ จากนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับต่อๆ มาได้ขยายแนวคิดด้านการพัฒนาจากความอยู่ดีมีสุขในระดับปัจเจกมาเป็นความอยู่ดีเย็นเป็นสุขของชุมชนและสังคมในกรอบที่กว้างขึ้น ซึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ก็ได้ทำขึ้นบนพื้นฐานกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่เสนอประเด็นและแนวทางที่มีความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขเช่นกัน สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเด็นความอยู่ดีมีสุข คุณภาพชีวิต และความสุข โดยตัวชี้วัด “ความอยู่ดีมีสุข” ที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุด คือ ความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัย (Subjective well-being) ส่วนตัวชี้วัดอื่นๆ ได้แก่ ความสุข (Happiness) ความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) สุขภาวะทางจิต (Psychological well-being) และสุขภาพใจ (Mental well-being) หรือ Emotional well-being

Recent post