สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ UNICEF จัดการประชุมเสวนา เรื่อง “สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส : การจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่สำหรับเด็กชาติพันธุ์ในประเทศไทย”

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวการประกวด “SET เยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย” ครั้งที่ 21
September 6, 2018
การบรรยายเรื่อง “การพัฒนาระบบการจัดการและการดำเนินการอย่างก้าวกระโดดเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ” ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
September 7, 2018

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ UNICEF จัดการประชุมเสวนา เรื่อง “สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส : การจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่สำหรับเด็กชาติพันธุ์ในประเทศไทย”

bridge11

7 กันยายน 2561 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ แห่งประเทศไทย จัดการประชุมเสวนา เรื่อง “สะพานเชื่อมโยงไปสู่อนาคตอันสดใส : การจัดการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่สำหรับเด็กชาติพันธุ์ในประเทศไทย” (Bridge to a Brighter Future: A Disseminating Evidence Forum on Mother Tongue-Based Multilingual Education for Ethnic Minority Children in Thailand) ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม งานประชุมเสวนาฯ ครั้งนี้ ยังมีปาฐกถาพิเศษโดยคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา, ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์, คุณมากิ ฮายาชิกาว่า หัวหน้าฝ่ายการเรียนรู้และผู้สอน องค์การยูเนสโก และ ดร.เคิร์ก เพอร์สัน ที่ปรึกษาองค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทย (UNICEF) ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงศึกษาธิการ และองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาและทดลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยใช้แนวทางการจัดการศึกษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีพื้นฐานมาจากงานวิจัยทางการศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (best practices) ในด้านการเรียนการสอนภาษาแรก และภาษาที่สองที่ได้รับการตรวจสอบรับรองในระดับนานาชาติ โครงการทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ไม่ใช่การแปลหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นภาษามลายูถิ่น แต่เป็นการผลิตสื่อการสอนชุดใหม่ขึ้นโดยจัดทำให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด นอกจากนี้ ครูผู้สอนในโครงการทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตร และเข้ารับการอบรมในเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานรวมทั้งฝึกเทคนิคการสอน และการใช้สื่อการศึกษาเมื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โครงการทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ยังสามารถพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย และประถมศึกษาที่ต่อเนื่อง เข้มแข็งทั้งยังพิสูจน์แล้วว่าเหมาะสมสำหรับการนำไปต่อยอดขยายผลสู่โรงเรียนอื่นต่อไป

Recent post