คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล สร้างความตระหนักในวันวัคซีนเอชไอวีสากล (HIV Vaccine Awareness Day)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล แถลงข่าวการจัดกิจกรรม“ศาลปกครอง – ศิริราช เดิน – วิ่ง เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
May 17, 2019
Mahidol KM Forum 2019
May 17, 2019

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล สร้างความตระหนักในวันวัคซีนเอชไอวีสากล (HIV Vaccine Awareness Day)

541641

วันที่ 18 พฤษภาคม 2562 เนื่องในวันวัคซีนเอชไอวีสากล (HIV Vaccine Awareness Day) ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม ของทุกปี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลได้สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวัคซีนเอชไอวี และย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถนำมาใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ในราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มใหญ่โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ อีกทั้งเป็นวันที่จะขอขอบคุณอาสาสมัครชาวไทยทั้งหญิงและชายที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันไม่ให้ติดเชื้อในคนปกติที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จำนวนมากกว่า 20,000 คนตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา รวมถึงนักวิจัยและสมาชิกทีมการวิจัยอื่นๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่องค์กรชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชน และสมาชิกชุมชนที่เกี่ยวข้องที่ได้เสียสละเวลาและทรัพยากร เพื่อปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากลจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งหากไม่มีความเสียสละของบุคคลเหล่านี้โดยเฉพาะอาสาสมัครแล้ว การวิจัยวัคซีนเอชไอวีของประเทศไทยและการวิจัยอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตคงจะเป็นไปได้ยาก

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ในปัจจุบันมีวิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพอยู่หลายอย่าง เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การกินยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ การติดเชื้อด้วยการรักษาผู้ที่ติดเชื้อแล้วด้วยยาต้านไวรัสเพื่อให้ควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในร่างกายให้อยู่ต่ำมากไม่เกิดการแพร่เชื้อต่อไป หรือเรียกว่าการรักษาเสมือนการป้องกัน การติดเชื้อด้วยการให้หญิงตั้งครรภ์กินยาต้านไวรัสที่จะช่วยลดการแพร่เชื้อไปสู่ลูก หรือเรียกว่าการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก และการติดเชื้อด้วยการให้ผู้ที่สัมผัสกับเชื้อแล้วกินยาต้านไวรัส (เช่น ในการรักษาผู้ติดเชื้อ หรือในการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกันการติดเชื้อกับผู้ที่มีเชื้อ) แต่วิธีการต่างๆ นี้ประสิทธิภาพในการป้องกันขึ้นอยู่กับการใช้หรือการกินหรือการปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง ซึ่งต่างจากวัคซีนที่ฉีดเป็นระยะในจำนวนไม่กี่เข็ม ออกฤทธิ์นาน จะช่วยลดการระบาดของโรคเอดส์ และแก้ไขปัญหาการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องที่เป็นจุดอ่อนของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีโดยวิธีการอื่น ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการควบคุมการระบาดของโรคในคนที่ไม่ติดเชื้อ

โครงการศึกษาวัคซีนเอดส์ทดลองระยะที่ 3 หรือ (อาร์วี 144) เมื่อปี พ.ศ. 2546 มีผลสรุปว่าวัคซีนมีประสิทธิผลสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 31.2% ที่ 3 ปี นับเป็นก้าวสำคัญยิ่งของการพัฒนาวัคซีนเอดส์ เพราะเป็นครั้งแรกของโลกที่พบว่าวัคซีนเอดส์มีประสิทธิผลในการป้องกัน และวัคซีนนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นวัคซีนต่อสายพันธุ์ซีโดยใส่สารเสริมฤทธิ์ (เอ็มเอฟ 59) ขณะนี้กำลังทดสอบหาประสิทธิผลในประเทศแอฟริกาใต้และคาดว่าจะทราบผลในอีก 2 ปี ข้างหน้า ต่อมาได้ศึกษาต่อยอดเพื่อประเมินว่าถ้ากระตุ้นที่เวลาต่างกันเป็นอย่างไร ปัจจุบันวัคซีนป้องกันไวรัสเอชไอวียังอยู่ในกระบวนการวิจัย จากโครงการ RV144 ได้มีการทำวิจัยต่อยอดในอาสาสมัครกลุ่มใหม่โดยการฉีดวัคซีนปูพื้นและวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีกครั้ง โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กำลังทดสอบหาประสิทธิผลเบื้องต้นในแอฟริกา หากพบว่าวัคซีนปลอดภัยและกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานก็อาจจะนำมาสู่การทดสอบหาประสิทธิผลต่อสายพันธุ์อีในประเทศไทยต่อไป นอกจากนี้พบว่าวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ดีนั้นอาจจะทำให้มีผลเลือดบวกปลอมเนื่องจากปฏิกิริยาของวัคซีน จึงมีแนวโน้มว่าวัคซีนที่ดีอาจจะทำให้มีผลเลือดบวกปลอมได้ซึ่งไม่ใช่การติดเชื้อโดยสามารถแยกได้โดยใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสม

Recent post