ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรีนิยม ผู้ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างของสภาคณาจารย์ ประจำปี 2560

“เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์” เครื่องกายภาพบำบัดรูปแบบใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
March 5, 2018
พิธีเปิดโครงการอบรมหลักสูตร “งานพิธีการ” รุ่นที่ 1
March 7, 2018

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรีนิยม ผู้ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างของสภาคณาจารย์ ประจำปี 2560

reward1

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรีนิยม สังกัด ภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน อาจารย์ได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท และประกาศนียบัตรด้านสารสนเทศชีวเวชและสาธารณสุข (Biomedical and Health)  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เป็นแนวโน้มของสังคมยุคดิจิตอล และยังถือได้
ว่าเป็นหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรีนิยม กล่าวถึงความภาคภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างของสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า มี
ความภูมิใจกับรางวัลนี้เป็นอย่างมาก เพราะตั้งใจและมุ่งมั่นกับงานด้านการเรียนการสอนและดีใจที่มีคนมองเห็นในความตั้งใจนี้ รางวัลอาจารย์ตัวอย่างจึงถือเป็นกำลังใจในการทำงาน เพราะเมื่อเราทำเต็มที่แล้ว และไม่ได้คาดหวังกับผลสำเร็จมากจนเกินไป คือ “เต็มที่ในเหตุ พอใจในผล”

เมื่อกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ผู้สอน คิดว่า เราควรให้นักศึกษารู้ว่าเราตั้งใจทำงานและมีจุดยืนกับงานด้านการเรียนการสอน เพราะมหาวิทยาลัยมหิดลมีมาตรฐานตามหลักสูตรที่กำหนดอยู่แล้ว ซึ่งในการสอนแต่ละครั้ง ก็จะมีการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไว้ด้วยเสมอ  งานด้านการเรียนการสอน ถือเป็นหน้าที่หลักในตำแหน่งอาจารย์  ซึ่งในแต่ละความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้สอนต้องคิด เพราะนักศึกษาแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน เราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการสอนไปตามผู้เรียนที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วย  ฉะนั้นผู้สอนจึงต้องฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะที่จะแก้ปัญหา และเมื่อก้าวออกไปข้างนอกสถาบันแล้ว สามารถยืนได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง

การศึกษาในยุคปัจจุบันนี้ ความรู้ทุกอย่างอยู่บนก้อนเมฆ (Cloud)  สิ่งที่ต้องศึกษา คือ ทักษะ ดังนั้นเราจึงต้องคิดเสมอว่า จะทำอย่างไรที่จะให้เขาหาความรู้และข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการสอนในอดีตแตกต่างกับการสอนในปัจจุบัน เพราะแค่เพียงกดปุ่มเปิดโทรศัพท์ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้แล้ว เราจึงจำเป็นต้องสอนให้เขาคิดแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นพื้นฐาน (Project-Based Learning)  โดยมีผู้สอนทำหน้าที่คอยชี้นำในส่วนของผู้เรียนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ  และเมื่อความรู้ของเขากระจัดกระจาย  เราก็ต้องทำหน้าที่เป็นเฟรมความรู้และคอยโฟกัสให้เขาเข้ามาถูกที่ถูกทาง  ฝึกให้เขาสามารถหาความรู้เองได้ และรู้จักการแก้ปัญหา  เมื่อมีการฝึกปฏิบัติ ในการอภิปรายร่วมกันกับผู้เรียน (Discuss) ก็จะทำให้รู้ว่าผู้เรียนนำข้อมูลมาใช้ถูกต้องหรือไม่ ผู้สอนสามารถชี้นำทางด้านข้อมูลที่ถูกต้องได้โดยใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

ส่วนสำคัญในความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีม (Team Work)  เราไม่สามารถทำงานทุกอย่างเองได้  ต้องดูว่างานไหนที่คนอื่นทำไม่ได้นอกจากเรา และงานไหนที่คนอื่นอาจจะทำได้ดีกว่าเรา จำเป็นที่จะต้องมีทีมที่คอยช่วยเหลือกัน เขาช่วยเรา เราช่วยเขา เพราะเมื่อสร้างทีม (Team Work) ขึ้นมา การทำงานก็จะสำเร็จได้ด้วยดี

 

Recent post