ม.มหิดล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระหว่าง 8 มหาวิทยาลัย

ม.มหิดล ค้นพบวิธีการสืบพันธุ์ไม้ผลยืนต้นเมืองหนาว โดยไม่ต้องผ่านอากาศหนาวเย็นตามกระบวนการธรรมชาติ
March 12, 2018
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา ร่วมเป็น Keynote speaker ในการประชุมนานาชาติในภูมิภาคเอเชีย – ออสเตรเลเชี่ยน (AAFITN2018) เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง ณ ประเทศมาเลเชีย
March 12, 2018

ม.มหิดล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระหว่าง 8 มหาวิทยาลัย

run1

12 มีนาคม 2561 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิงรวงผึ้ง สุทเธนทร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระหว่าง 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกล่าวแสดงความยินดีและให้คำแนะนำทิศทางการดำเนินการของเครือข่ายฯ ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

 

RUN เกิดขึ้นเพื่อการวิจัยที่มุ่งตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้แนวคิดด้วยความจริงใจ ความเท่าเทียม และมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Sincerely, Equally, Excellently) โดยสร้างงานวิจัยจากโจทย์วิจัยที่มีความสำคัญต่อประเทศ ภูมิภาคและของโลกเป็นตัวตั้ง ด้วยความมุ่งมั่นว่างานวิจัยดังกล่าวจะตอบสนอง และเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต อีกทั้งจะเป็นศูนย์กลางการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียน ภายใต้กรอบแนวความคิดการร่วมมือกันคือ การแบ่งปันทรัพยากรในการวิจัย (resource sharing) อาจารย์และนักวิจัย นิสิตนักศึกษาทุกระดับจนถึงหลังปริญญาเอก (Postdoc) เครื่องมือวิจัย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีการบริหารงานวิจัย และร่วมกันสร้างโครงการวิจัยและวิเคราะห์ปัญหางานวิจัยร่วมกัน

 

RUN มุ่งเป้าโจทย์วิจัยใน 10 กลุ่มสำคัญ คือ อาเซียน การเกษตร อาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงาน สุขภาพ วัสดุ ดิจิทัล หุ่นยนต์ และโลจิสติกส์ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลรับผิดชอบในกลุ่มที่ 6 สุขภาพ (Health) ซึ่งโครงการการผลิตส่วนประกอบมาตรฐานของวัคซีนโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ในอาคารและการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนต้นแบบ คณะวิจัย: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นงานวิจัยที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของการลงทุนของรัฐในโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ โดยมีผลรวมมูลค่าของโครงการก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมดรวม 627.37 – 1,049.17 ล้านบาท

Recent post