“เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์” เครื่องกายภาพบำบัดรูปแบบใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การอบรมให้ความรู้และเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงาน (ITA) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาน 2561
March 5, 2018
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรีนิยม ผู้ที่ได้รับรางวัลอาจารย์ตัวอย่างของสภาคณาจารย์ ประจำปี 2560
March 6, 2018

“เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์” เครื่องกายภาพบำบัดรูปแบบใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

gyro5

สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ต้องรับการรักษาด้วยการกายภาพบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง การพัฒนารูปแบบเครื่องกายภาพบำบัดรูปแบบใหม่ๆ น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาได้รับการฟื้นฟูที่ดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายของผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์ “Gyro-Roller” จึงถูกพัฒนาขึ้นมาโดยการสร้างแรงมากระทำที่แขน และมีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่นในระหว่างการฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย สมอง การรับรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว และการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เป็นการเพิ่มความสนใจของผู้ป่วยให้จดจ่ออยู่กับกิจกรรมในขณะรักษา เน้นฟื้นฟูกล้ามเนื้อในส่วนของแขนถึงหัวไหล่ไปในเวลาเดียวกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูที่ดีขึ้น

รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ปัจจุบันแผนกกายภาพของบางโรงพยาบาลในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังใช้เครื่องมือที่มีรูปแบบ ไม่หลากหลายมากนัก และผู้ป่วยจำเป็นต้องทำกายภาพซ้ำๆต่อเนื่อง หากไม่มีสิ่งที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ป่วยสามารถสนใจจดจ่อต่อการฝึกได้ตลอด ก็อาจทำให้การฝึกไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เราจึงได้พัฒนาเครื่องไจโรโรลเลอร์ขึ้น โดยเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมออกแบบเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น โดยเกมส์ที่ออกแบบนี้รองรับการฟื้นฟูทั้งด้านกล้ามเนื้อ การรับรู้และความเข้าใจ สามารถสร้างความเพลิดเพลินระหว่างการรักษา ซึ่งในช่วงแรกได้มีการทดลองเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ทั้งก่อนและหลังการใช้เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์ส พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่ดี กล้ามเนื้อแข็งขึ้นถึง 80% ในช่วงต่อมา เราจึงได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องให้มีฟังชั่นการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมทั้งเก็บข้อมูลในเชิงเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่รักษาด้วยเครื่องไจโรโรลเลอร์กับผู้ที่ใช้รักษาโดยใช้อุปกรณ์ปกติ ซึ่งก็อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลในหลายๆพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดให้เครื่องมีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเจ้าเครื่องนี้เป็นที่ยอมรับและผ่านมาตรฐานทางการแพทย์ ก็พร้อมจะผลักดันออกสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป”

ผลงานประดิษฐ์เรื่อง “ระบบฟื้นฟูกล้ามเนื้อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : ไจโรโรลเลอร์ส Gyro-Roller” นี้เคยได้รับรางวัลจากการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมาแล้วหลายเวที ล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น : รางวัลระดับดีมาก จากสภาวิจัยแห่งชาติฯ ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2561 ที่ผ่านมาอีกหนึ่งรางวัลด้วย

Recent post