วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานการประชุมชี้เเจง “แนวทางการประเมินศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ” พร้อมบรรยายเรื่อง “นโยบายและแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการคนเก่ง มหาวิทยาลัยมหิดล (MU – Talent)” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิง วรานันท์ บัวจีบ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทันตแพทย์หญิง วิภาดา เลิศฤทธิ์ รองคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมและตอบข้อซักถาม ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการคนเก่ง (MU – Talent) ว่าเป็นการค้นหาบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีศักยภาพสูง พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพและขีดความสามารถของบุคคลากรที่มีศักยภาพ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้บุคคลลากรที่มีศักยภาพสูงได้ปฏิบัติงานที่ท้าทายและสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยเเนวทางการดำเนินการบริหารจัดการคนเก่ง (MU – Talent) นั้นจะต้องมีการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล(IDP : Individual Development plan) ตามเเนวทางการพัฒนาแบบ 70:20:10 คือ
70% Experience : Experiential Learning คือการได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ จากผู้บังคับบัญชาและการนำความรู้ ไปสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 20% Exposure : Social Leaning คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจากผู้บังคับบัญชา การ Coaching จากผู้บังคับบัญชา และการเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมสำคัญ 10% Education : Formal Learning การฝึกอบรมตามแบบแผนการฝึกอบรมในแบบออนไลน์หรือหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการ บุคลากรกลุ่ม Talent ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร โดยเฉพาะในยุคของการเปลี่ยนแปลง ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ก้าวทัน และสอดรับกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการดึงดูด การพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ให้อยู่กับองค์กรยาวนาน ต่อเนื่องไปสู่การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) อีกด้วย