คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562

นักศึกษา ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี รับมอบทุนการศึกษา จาก บริษัท Mitsui Oil Exploration Co.,Ltd (MOECO) 2019
November 20, 2019
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดเสาวนาเรื่อง “ฝุ่นละออง PM 2.5 กับสุขภาพคนทำงาน”
November 21, 2019

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562

DSC_7855

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562  ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ  รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562 Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health Conference 2019 (APACPH 2019) : SDGs in Reality โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และความร่วมมือของสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข 5 แห่ง ได้แก่ University of Hawaii, Mahidol University, University of Philippines, Peking Medical University, National University of Singapore ภายใต้แนวคิด “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในความเป็นจริง (SDGs in Reality)” โดยมุ่งสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์การทำวิจัยในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เช่น โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สุขภาพหนึ่งเดียว การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย และระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น นับว่าเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ และประยุกต์
ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านสาธารณสุขในการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนในสังคมให้เกิดการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

จากนั้น ได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Wah Yun Low, President of APACPH, University of Malaya, Malaysia เป็นประธานมอบรางวัลผู้นำทางด้านสาธารณสุข (APACPH Award) จำนวน 3 รางวัล ซึ่งประกอบด้วย
1) The APACPH Public Health Recognition Award ได้แก่ Professor Myong-Sei Sohn, APACPH
President Emeritus
2) The APACPH Excellence in Leadership Medallion โดยผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ ได้แก่
– รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา อุดมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอดีตหัวหน้าภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะ  สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3) The APACPH Medal of Merit ได้แก่
– Professor Jung-Der Wang, Former Dean of College of Public Health, National Taiwan University
– ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

ภายหลังพิธีเปิดเสร็จสิ้น ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ  รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์  คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ Prof. Dr. Wah Yun Low, President of APACPH, University of Malaya, Malaysia นายแพทย์สำลี เปลี่ยนบางช้าง อดีตผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา อุดมศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ และอดีตหัวหน้าภาควิชา สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข และ Professor Dr. Masamine Jimba Former President APACPH  ร่วมแถลงข่าวการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562  ณ ห้องอยุธยา ชั้น 8 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร โดยกล่าวถึง สาระสำคัญการจัดประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562 การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียวและยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล และการจัดอันดับสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงมุมมอง การจัดการด้านสาธารณสุขไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า 500 คน จากประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก อาทิ ไทย จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ภายในงานมีการนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) และการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation) กว่า 300 เรื่อง จากอาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักศึกษา และผู้แทนจากองค์กรของรัฐและเอกชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในการควบคุมและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและนานาประเทศในการสร้างความร่วมมือของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆทางสาธารณสุขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพ และขีดความสามารถทางด้านการสาธารณสุข

Recent post