มหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ลงนามความร่วมมือเพื่อสนับสนุนนประเทศในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคเพื่อการบรรลุวาระโลกด้านการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพแบบถ้วนหน้าภายในปึค.ศ. 2030

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ ประกาศผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2562
November 28, 2019
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยชิบะ เปิดศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในอาคาร MU-CU PFAL
November 29, 2019

มหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ลงนามความร่วมมือเพื่อสนับสนุนนประเทศในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคเพื่อการบรรลุวาระโลกด้านการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพแบบถ้วนหน้าภายในปึค.ศ. 2030

ilo-2

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ณ.ห้องประชุม GB สำนักงานใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้แทนของรักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ลงนามความร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) โดย Ms. Valérie Schmitt รักษาการแทนผู้อำนวยการฝ่ายการคุ้มครองทางสังคม องค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล Ms. Marielle Phe Goursat หัวหน้าที่ปรึกษาเทคนิคด้านการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและราชรัฐลักเซมเบอร์กประจำสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือต่อหน้าผู้บริหารระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐ ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายนายจ้างกว่า 400 คนจากประเทศสมาชิกมากกว่า 180 ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมใหญ่ในวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

การลงนามความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าประสงค์เพื่อร่วมกันสนับสนุนการสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคในการพัฒนานโยบาย กลยุทธ์ รวมถึงระบบเพื่อการคุ้มครองด้านสังคมและสุขภาพให้แก่แรงงานอย่างถ้วนหน้าและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม และมีความยั่งยืน โดยเป็นการตอบสนองต่อวาระโลกในการบรรลุการคุ้มครองทางด้านสังคมแบบถ้วนหน้า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 1.3) โดยจะมีการดำเนินงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาสาขาวิชาการคุ้มครองด้านสังคมและสุขภาพในหลักสูตรการจัดการการสาธารณสุขมูลฐาน ของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโท โดยจะเริ่มในภาคปลายของปีการศึกษา 2562 นี้ (มกราคม 2563) โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศสนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายระหว่างการศึกษาตลอดหลักสูตร สำหรับนักศึกษาจากประเทศสมาชิก เช่น สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นอกจากนี้ความร่วมมือยังรวมถึงการสนับสนุนการก่อตั้งสมาคมเพื่อการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพสำหรับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค (CONNECT) เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนประเทศสมาชิกในด้านการพัฒนาศักยภาพ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การทำวิจัย การสนับสนุนทางด้านวิชาการ การขับเคลื่อนทางสังคมและนโยบายสาธารณะเพื่อก่อให้เกิดการคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพแบบถ้วนหน้า โดยปัจจุบันมีองค์กรจากประเทศต่างๆ เป็นองค์กรร่วมก่อตั้ง เช่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม ประเทศไทย และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกำลังดำเนินการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคาดว่าจะเปิดดำเนินการภายในมีนาคม 2563 นี้