คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และ University College London สหราชอาณาจักร

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล จัดประชุมคณะกรรมการ Mahidol – ASEAN Rating on Healthy University (ARHU)
November 18, 2019
ม.มหิดลเข้าร่วมการประชุม 2019 SATU Steering Committee Meeting ณ Universiti Malaysia Sabah เมือง Kota Kinabalu ประเทศมาเลเซีย
November 19, 2019

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และ University College London สหราชอาณาจักร

MOU eg03

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการร่วมมือทำวิจัยเรื่อง Metro Operations Improvement through Data Analysis ในการพัฒนาให้บริการระบบขนส่งมวลชนของไทยในอนาคต ร่วมกับ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โดยมี ผศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคุณสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง นอกจากนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ. ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังได้ลงนามร่วมกับ University College London สหราชอาณาจักร โดยมี Professor Nigel Titchener-Hooker Dean of the Faculty of Engineering Sciences เป็นผู้ลงนาม และมี Dr. Taku Fujiyama, เป็นผู้แทนจาก University College London เข้าร่วมการลงนาม พร้อมทั้งได้รับเกียรติจาก Mr. Andrew Beirne, British Embassy Bangkok และคุณสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและร่วมแสดงความยินดีในครั้งนี้อีกด้วย

การจัดงานในครั้งนี้เป็นการสร้างเครือข่ายงานวิจัยร่วมกับ มหาวิทยาลัย University College London สหราชอาณาจักร โดยมีหน่วยงานร่วมโครงการ ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด และTransport for London ซึ่งมีบริษัท London Underground Limited เป็นบริษัทในเครือ เพื่อทำโครงการ SmartMetro: Smart Metro Operations Enhancement through Data Analysis” โดยโครงการมีระยะเวลา 2 ปี

อาจารย์ ดร. จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการจัดการโลจิสติกส์และวิศวกรรม ในฐานะหัวหน้าโครงการ SmartMetro กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนจาก Newton Fund ภายใต้โครงการ Industry Academic Partnership Programme-18/19 ซึ่งมี Royal Academy of Engineering และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว) ให้การสนับสนุน โดยโครงการ SmartMetro มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทำงานวิจัยร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร และนำความรู้และโจทย์จากการดำเนินงานจริงในภาคอุตสาหกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน

ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าวว่า เป็นโอกาสอันดีที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ University College London สหราชอาณาจักร รวมทั้งบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการ เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ และทำโครงการวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางราง โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ถือว่ากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางรางถือเป็นภาระกิจหลักของคณะฯ ที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยและภาคอุตสาหกรรมได้ร่วมกันสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายแรกขึ้น จากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน มีการขยายโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการของผู้โดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมาก มีการลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน ประกอบกับรัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล มีการวางแผนแม่บทด้านดิจิทัล มีการออกนโยบาย Thailand 4.0 ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องปรับตัว และนำการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้มากขึ้น

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมการขนส่งทางราง ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิจัยของโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนก็เช่นเดียวกัน ข้อมูลการให้บริการรถไฟฟ้ามีอยู่หลากหลาย แต่ข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่ถูกเก็บอยู่ที่ผู้ประกอบการหรือผู้รับสัมปทาน ยังไม่ได้ถูกนำมารวมกันและใช้วิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และส่งเสริมความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง โครงการนี้จึงเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว จึงนำตัวอย่างการดำเนินงานจริงของสหราชอาณาจักรและประเทศอื่นๆ มาเป็นแนวทางเพื่อวางกรอบแนวทางการใช้ข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐในการออกนโยบายและกำกับดูแลการให้บริการรถไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันแล้ว ภายในงานยังมีการจัด workshop ให้แก่นักศึกษา นักวิจัย อีกด้วย โดย ผศ.ดร.วเรศรา วีระวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมโลจิสติกส์ กล่าวว่า การลงทุนในเครือข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจำนวนมหาศาล จะทำให้มีความต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะเฉพาะด้านจำนวนมาก การจัดโครงการอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้ ทักษะด้านการให้บริการการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่อง หรือ Continuing Professional Development (CPD) ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการจากสหราชอาณาจักร ที่จะนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมาเป็นระยะเวลานาน มาถ่ายทอดให้อาจารย์ นักวิจัย และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อการพัฒนาต่อไป

Recent post