นักวิจัยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านชีวโมเลกุลแปลงเพศกุ้งก้ามกรามปลอดโรค โตไว สายพันธุ์ MU1 เพื่อเพิ่มผลผลิต ช่วยเศรษฐกิจของประเทศ

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมหารือความเเลกเปลี่ยน กับ University of Kitakyushu
November 21, 2019
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) เยี่ยมชมและศึกษาดูงาน โครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรม ชีวภาพจากนวัตกรรม (pilot plant)
November 21, 2019

นักวิจัยสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านชีวโมเลกุลแปลงเพศกุ้งก้ามกรามปลอดโรค โตไว สายพันธุ์ MU1 เพื่อเพิ่มผลผลิต ช่วยเศรษฐกิจของประเทศ

DSC_8058

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดงานแถลงข่าวการเปิดตัว “แม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศต้นแบบ (MU 1) ขยายปริมาณสู่ตลาดผู้บริโภคเป็นผลสำเร็จ” โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน ผู้อํานวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และนายบรรจง นิสภวาณิชย์ เจ้าของบรรจงฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุมชั้น 1 สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เป็นจุดเริ่มต้นของสถานที่บ่มเพาะงานวิจัยในระดับแนวหน้าของประเทศจำนวนมาก ผลงานหลายชิ้นมีผลกระทบและมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งสามารถตอบโจทย์การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากงานวิจัยเพื่อพัฒนาสายพันธุ์กุ้งก้ามกราม MU1 ได้สร้างความรู้ใหม่ด้านชีวโมเลกุลของกุ้ง โดย ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ได้ริเริ่มคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ด้านชีวโมเลกุล ด้วยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้ โดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT) ได้เข้ามาดูแลการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวสาร และกรรมวิธีผลิตแม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศเพื่อให้แม่กุ้งก้ามกรามสามารถผลิตได้เฉพาะลูกกุ้งก้ามกรามที่เป็นตัวผู้ได้ โดยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้วทั้ง 2 เรื่อง นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากบรรจงฟาร์มในการร่วมมือทางวิชาการเพื่อต่อยอดงานวิจัยในการผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ ตั้งแต่ปี 2561 ไปยังฟาร์มอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม และเกษตรกรตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งในอนาคตจะมีการขยายผลและพัฒนาเพิ่มเติม โดยมุ่งผล เพื่อช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกร และให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสู่ผู้บริโภคต่อไป

Recent post