ม. มหิดล โดย AUN Health Promotion Network และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ร่วมกับ University of Philippines จัดประชุม The 5th AUN-HPN Advisory Committee Meeting และ The 2nd International Health Promotion Conference on Moving Towards Healthy Universities in Asia ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “ถอดบทเรียน การพัฒนาและการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร”
August 19, 2019
มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการ The 3rd Asia Pacific Youth Exchange Korea (APYE Korea)
August 20, 2019

ม. มหิดล โดย AUN Health Promotion Network และสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ร่วมกับ University of Philippines จัดประชุม The 5th AUN-HPN Advisory Committee Meeting และ The 2nd International Health Promotion Conference on Moving Towards Healthy Universities in Asia ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

1566212629832-1024x768

วันที่ 19 – 22 สิงหาคม 2562 รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) เข้าร่วมการประชุม The 5th AUN-HPN Advisory Committee Meeting และ The 2nd International Health Promotion Conference on Moving Towards Healthy Universities ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีการสรุปความร่วมมือร่วมกับคณะกรรมการ AUN-HPN International Advisory Committee (IAC) โดยมีประเด็นสำคัญด้านความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสมาชิกของ AUN-HPN กับ Osaka University การวิจัย Alcohol Control นำโดยกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยเรื่องการออกกำลังกาย นำโดย AUN-HPN นอกจากนี้ที่ประชุมได้มีมติร่วมกันในการนำหลักการพัฒนา Healthy University Rating ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานเลขาธิการของ AUN-HPN นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน

ในการประชุมครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสมาชิกได้แลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติที่ดีโดยใช้กรอบของ AUN-HPN Healthy University Framework ที่เน้นการสร้างมหาวิทยาลัยสุขภาพ 22 ประการ ในด้านนโยบายสถาบัน มาตรการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ (เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ การคุกคามทางเพศ ฯลฯ) และมาตรการด้านการส่งเสริมมหาวิทยาลัยสุขภาพ (เช่น ความสมดุลในการทำงาน การอ่านออกเขียนได้ทางสุขภาพ ฯลฯ)

Recent post