คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมรับมือคุณภาพอากาศในกรุงเทพที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ม.มหิดล จัดงานแสดงความยินดีปูชนียบุคคล 50 ปี วันพระราชทานนาม 131 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล
October 1, 2019
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2561 ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
October 2, 2019

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมรับมือคุณภาพอากาศในกรุงเทพที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

si1

วันที่ 1 ตุลาคม 2562 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นริศ  กิจณรงค์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรเเละกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นประธานแถลงข่าว“การเตรียมรับมือคุณภาพอากาศในกรุงเทพที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ” ร่วมกับ  รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 204 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 2 รพ. ศิริราช  

สืบเนื่องจากปัญหามลพิษในอากาศของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่รุนแรงขึ้นในช่วงปลายปีก่อนตลอดมาจนถึงต้นปีนี้ แล้วจึงค่อยๆ ดีขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จนเมื่อเริ่มมีมวลอากาศเย็นแผ่มาปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว ทำให้เกิดปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน (temperature inversion) คุณภาพอากาศจึงแย่ลงเร็วจากมลพิษในอากาศ ที่ไม่สามารถฟุ้งกระจายออกไปได้ตามปกติ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเรายังไม่สามารถควบคุมแหล่งการผลิตมลพิษเหล่านี้ได้  ไม่ว่าจะเป็นในภาคอุตสาหกรรม การคมนาคม การก่อสร้าง และกิจกรรมประจำวันของประชากรกรุงเทพ และคาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นตามลำดับต่อไป

 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน จึงขอให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาขน ร่วมมือกันเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ดังกล่าว คือ

  1. ให้ความรู้กับประชาชนเพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของมลพิษในอากาศ ที่มีผลคุกคามต่อทุกคนโดยเฉพาะ เยาวชน สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง
  2. ให้การศึกษากับประชาชนเพื่อปรับกิจกรรมประจำวันและใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองที่ถูกต้องเหมาะสมตาม

คุณภาพอากาศ โดยคำนึงถึงว่า

2.1 การวัดปริมาณ PM2.5 ที่ไม่แยกปริมาณไอน้ำออกไป ด้วยเครื่องมือวัดแบบพกพาหรือแบบที่ไม่ซับซ้อนอาจจะได้ค่าสูงกว่าการวัดด้วยเครื่องมือมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษถึง 1.5 เท่า

2.2 ระดับการเตือนภัย (ในรูปแบบรหัสสีต่างๆ) ของกรมควบคุมมลพิษ สูงกว่าระดับที่รับรองโดยองค์การ

อนามัยโลกและประเทศที่ให้ความสำคัญกับปัญหานี้

  1. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันสาหรับประชาชนให้เพียงพอ ทั้งหน้ากากอนามัย หน้ากาก N-95 สำหรับใช้กลางแจ้งและเครื่องฟอกอากาศหรือแผ่นกรองอากาศ สำหรับใช้ในตัวอาคาร

Recent post