คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผลสำเร็จ บางกอกน้อยโมเดล: ศิริราชประสบความสำเร็จ รุกเข้าถึงชุมชนเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวบางกอกน้อย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยภารกิจปรับปรุงและดูแลอุปกรณ์วัดรังสีคอสมิก (อนุภาคจากอวกาศ) ด้วยอิเล็กทรอนิกส์พิเศษและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งแรกในประเทศไทย
January 9, 2020
โครงการ Mahidol University – University of Canterbury International Internship 2020 (MUUC 2020)
January 9, 2020

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผลสำเร็จ บางกอกน้อยโมเดล: ศิริราชประสบความสำเร็จ รุกเข้าถึงชุมชนเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวบางกอกน้อย

si-09

วันที่ 9 มกราคม 2563 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าว “บางกอกน้อยโมเดล: ศิริราชประสบความสำเร็จ รุกเข้าถึงชุมชนเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวบางกอกน้อย” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์จิราพร  ลิ้มปานานนท์ รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  อาจารย์ นายแพทย์ศรัทธา  ริยาพันธ์ หัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครกู้ชีพผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ชุมชนเขตบางกอกน้อย ผู้แทนมอเตอร์ไซค์วิน  ผู้แทนผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย และผู้แทนเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมแถลงข่าว ในโอกาสนี้  รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล  ภาควิชาและหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นเกียรติในงาน ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (SiMR) ชั้น 12 โรงพยาบาลศิริราช

โครงการบางกอกน้อยโมเดล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  เริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลสุขภาพ ผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ ที่ช่วยเพิ่มความสบายใจในการตอบคำถามที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนได้ ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากขึ้น แต่บางส่วนมีอาสาสมัครเข้าไปเก็บข้อมูลโดยเฉพาะผู้สูงอายุ  ข้อมูลที่มีขณะนี้จำนวน 28,000 ข้อมูล ถือเป็นจำนวนข้อมูลสุขภาพที่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ ของกรุงเทพฯ และครอบคลุม 5 มิติที่สำคัญคือ โครงการฯ มีระบบคุ้มครองและรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสูงสุด ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเพื่อสิทธิคนไข้ และได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์  พบว่า กลุ่มที่โครงการฯ ได้รับข้อมูลมามากที่สุด คือกลุ่มผู้สูงอายุ ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนกว่า 3,000  คนพบ 5 โรคอันดับแรก คือ ความดันโลหิต ภูมิแพ้ เบาหวาน คอเลสเตอรอล กระดูกและข้อ และนำมาวางแผนการดูแล หาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงอื่น ๆ แก่ประชากรในชุมชนบางกอกน้อย เกิดเป็นโครงการต่าง ๆ อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพ

ข้อมูลสุขภาพเหล่านี้ยังนำมาวิเคราะห์ เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในมิติอื่น ๆ นอกเหนือจากมิติสุขภาพ  โดย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมสำรวจเพิ่มเติมในด้านการทำตลาดร้อยปีของชุมชนบ้านบุ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์  อีกทั้งมีการวางแผนส่งข้อมูลให้สถานีตำรวจเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัย และอีกโครงการที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการ คือ โครงการพัฒนาแม่น้ำคูคลองในเขตบางกอกน้อย การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยข้อมูลจากประชาชนจุดประกายให้เกิดความร่วมมือในพื้นที่ ส่งเสริมให้มีการสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้คนบางกอกน้อยมีสุขภาวะที่ดีครบทุกมิติ

โครงการบางกอกน้อยโมเดล เป็นการสร้างต้นแบบการดูแลสุขภาพประชาชนในเขตเมืองผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างสถาบันทางการแพทย์กับประชาชนเป็นรายบุคคลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเกิดการประสานงานกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนเพื่อผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วม สร้างเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและช่วยกันดูแลสุขภาพกันเอง รวมถึงข้อมูลสุขภาพที่ได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงพื้นที่ที่อยู่ในรูปแบบเดียวกันสามารถนำไปใช้ สร้างโครงการเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงจุดต่อไป

Recent post