สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ International conference on Language Diversity and Preservation of Cultural Heritage (LCP 2019)

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 5/2562 (Council Visit) ณ วิทยาลัยราชสุดา
December 16, 2019
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ประจำปีงบประมาณ 2563
December 17, 2019

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ International conference on Language Diversity and Preservation of Cultural Heritage (LCP 2019)

line_1131568238317321-1024x683

วันที่ 17 ธันวาคม 2562 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ International conference on Language Diversity and Preservation of Cultural Heritage (LCP 2019) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมฯ ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากนั้น ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบทุนในโครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์: ส่งเสริมการปกป้อง และดำรงรักษา ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในประเทศไทย” จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1. Mr. Zubair Torwali (IBT Bahrain district Swat KP, Pakistan.) 2. Ms. Winn Myintzu (University of Szeged, Hungary) 3. นายภีมระพัฒต์ รองสวัสดิ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 4. Ms. Shiva Dwi Samara Tungga (Universitas Indonesia) พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากร ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และ Dr. Mandana Seyfeddinipur (ELDP, ELAR & SOAS World Languages Institute, London, UK)

การจัดงานประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วโลก กลุ่มชาติพันธุ์ ที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อน (Climate change) และการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanisation) บีบคั้นให้สมาชิกในชุมชนต้องสละวิถีชีวิต ละถิ่นฐานเดิมเพื่อเข้าถึงทรัพยากรและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนภาษา ทำให้การถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นหยุดชะงัก ซึ่งในประเทศไทยมีมากกว่า 70 ภาษา และ 15 ภาษาอยู่ในภาวะวิฤตรุนแรง นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นสถานการณ์นี้เป็นอย่างดี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำงานวิจัยมาร่วม 40 ปี โดยเน้นการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูภาษาสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และ the Endangered Languages Archive (ELAR), SOAS, University of London ซึ่งเป็นศูนย์คลังข้อมูลดิจิทัลของภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤตจากทั่วโลก ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมวิชาการนานาชาติในชื่อ International conference on Language Diversity and Preservation of Cultural Heritage (LCP 2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2562 ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ภายใต้การดำเนินงานของโครงการวิจัย “โครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์: ส่งเสริมการปกป้อง และดำรงรักษา ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในประเทศไทย” โครงการนี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางภาษาและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยปราชญ์และคนในชุมชนเองรวมทั้งพัฒนาศักยภาพคนในระดับท้องถิ่น มีการพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลที่ชุมชนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงได้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยกับนักวิชาการเพื่ออนุรักษ์มรดกทางภาษาและวัฒนธรรม

Recent post