คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 14/2562 (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สถาบันฯ เด็ก ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว “7 วัน ไม่อันตราย ช่วยกันดูแลเด็กให้ปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่”
December 24, 2019
นักวิจัย ม.มหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรในงาน วช. แถลงข่าว “ผลการดำเนินงานของ วช. ประจำปี 2562 และพิธีมอบประกาศนียบัตรขอบคุณแก่นักวิจัย/นักประดิษฐ์ไทยที่นำผลงานร่วมประกวดในเวทีนานาชาติ”
December 26, 2019

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 14/2562 (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

DSC_2831

วันที่ 25 ธันวาคม 2562 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 14/2562 (Council Visit) ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563 – 2564 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. รศรินทร์ เกรย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม พร้อมผู้บริหารสถาบันวิจัยประชากรและสังคม และผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ด้วย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมีประเด็นความโดดเด่นดังต่อไปนี้
1. ผลสำเร็จที่ภาคภูมิใจของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ( 2559-2562)
1. Field Weighted Citation Impact บทความวิชาการของสถาบันฯ มีค่าใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยระดับ Top 50 ของโลก
2. Journal of Population and Social Studies (JPSS) ได้รับการตอบรับเข้าอยู่ในฐาน SCOPUS ตั้งแต่ปี 2560
3. Redesignation เป็น WHOCC for Research in Human Reproduction ปี 2562-6565 (ตั้งแต่ปี 2535 อย่างต่อเนื่อง)
4. เงินทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2 เท่า
5. มีความโดดเด่นทางด้านการคาดประมาณประชากร
6. เครื่องมือ HAPPINOMETER เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้ในระดับชาติทั้งภาครัฐและเอกชน
7. นักศึกษาได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัยและระดับชาติ ได้รับทุนแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น บัณฑิตวิทยาลัย รางวัลเกียรติยศผลการศึกษาดีเยี่ยม และรางวัลเกียรติคุณฯ
8. เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยประชากรและสังคมในปี 2561 (หลักสูตรไทย)
9. การบริหารจัดการแบบ IPSR 4.0 ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอย่างมีความสุข

2. เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563-2564
1. การวิจัยเชิง Comparative Studies ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียและอื่นๆ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
2. การวิจัยที่เป็น Social Innovation (สหสาขาวิชา และใช้ประโยชน์เพื่อสังคม)
3. ส่งเสริมให้ HAPPINOMETER เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติให้มากขึ้น
4. อย่างน้อย 1 หลักสูตรได้รับการประเมิน AUN-QA ในระดับมหาวิทยาลัย (3.0)
5. งานวิชาการสำหรับวาระครบรอบ 50 ปีการสถาปนาสถาบันฯ (14 พ.ย. 2564)

Recent post