นักวิจัย ม.มหิดล ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และ รางวัล TWAS จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

พิธีเปิด และเสวนา เรื่อง “อายุรศาสตร์ก้าวไกลใต้ร่มพระบารมี” ในการประชุมวิชาการ 100 ปี อายุรศาสตร์ศิริราช
January 11, 2018
ม.มหิดล จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
January 11, 2018

นักวิจัย ม.มหิดล ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และ รางวัล TWAS จากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.)

DSC_6921

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2559 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2560 และ รางวัล 2016 TWAS Prize for Young Scientist in Thailand (Mathematics Field) จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเข้ารับจาก พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธี ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ สำหรับในปี 2559 มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี 2559 และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และรางวัล 2016 TWAS Prize for Young Scientist in Thailand (Mathematics Field) ประจำปี 2560 ดังนี้

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานวิจัยที่ทำสั่งสมไม่น้อยกว่า 5 ปี มีผลงานวิจัยที่ดีเด่นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการและการพัฒนาประเทศ โดย ศาสตราจารย์ ดร.โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

รางวัลผลงานวิจัย เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ที่เหมาะสม มีความชัดเจน มีประสิทธิผลและเป็นผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยผลงานวิจัยต้องไม่เป็นวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการรับปริญญาและต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ z

– รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ซีรีน ไฮดรอกซีเมธิลทรานเฟอร์เรส เป้าหมายยาใหม่สำหรับโรคมาลาเรีย” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ร่วมวิจัย

รางวัลวิทยานิพนธ์ เป็นวิทยานิพนธ์ของการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาเอกของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม และได้รับการอนุมัติจากสถาบันการศึกษาแล้วย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี เป็นวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ที่เหมาะสม มีความชัดเจน มีประสิทธิผล และเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

– รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “เซลล์ชวานน์และเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมัน สำหรับการซ่อมแซมระบบประสาทส่วนปลาย” โดย ดร.รสสุคนธ์ แก้วขาว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จการศึกษาจาก University of Sheffield สหราชอาณาจักร – รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาหน้าที่ของ aƒsA ที่ควบคุมการสร้างสารทุติยภูมิในเชื้อ Streptomyces SJE177 และการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อ actinomycetes ที่คัดแยกจากดิน” โดย ดร.จิรายุส เอื้อนรเศรษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล

– รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ได้แก่ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การทดสอบศักยภาพของโปรตีน Saposin-Like Protein 2 ในการพัฒนาเป็นวัคซีนและวิธีการวินิจฉัยการติดโรคพยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica” โดย ผศ.ดร.พรอนันต์ เกื้อไข่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล (ปัจจุบันย้ายไปมหาวิทยาลัยบูรพา)

– รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้แก่ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสร้างระบบเพื่อคัดเลือก สร้างดัชนี และค้นหาข้อมูลประเภทอัลกอรึทึมในห้องสมุดดิจิตอล” โดย ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จการศึกษาจาก Pennsylvania State University สหรัฐอเมริกา

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น เป็นผลงาน ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี กระบวนการ วิธีการ มาตรการหรือระบบ ตลอดจนนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจ สังคมและเสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาประเทศ

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แผ่นปิดแผลที่เคลือบด้วยสารสกัดสมุนไพร” โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พรพรหม เมืองแมน และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เครื่องเอสพีอาร์แบบภาพ และระบบฟลูอิดิกแบบหลายช่องวัด”โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ร่วมวิจัย

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ได้แก่ ผลงานเรื่อง “จมูกอิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ที่ใช้เซนเซอร์เคมีบนผ้าเพื่อการตรวจวัดกลิ่น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ได้แก่ ผลงานเรื่อง “องค์ประกอบของเครื่องหมายโปรตีน” โดย ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็นและคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เกมส่องแสงต้นกล้า” โดย ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล

รางวัล 2016 TWAS Prize for Young Scientist in Thailand (Mathematics Field) ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สภาวิทยาศาสตร์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา (The Academy of Sciences for the Developing World – TWAS) ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงกมล เบ้าวัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Recent post