กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ร่วมกับ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม ร่วมจัดกิจกรรมโครงการมหิดลร่วมกันปันอิ่ม

สถาบันเด็กฯ ม.มหิดล จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2563 : Childhood trauma in disruptive world
May 25, 2020
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวการพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ศิริราช (Siriraj Mobile Stroke Unit)
May 26, 2020

กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ร่วมกับ พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม ร่วมจัดกิจกรรมโครงการมหิดลร่วมกันปันอิ่ม

share01

ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ ประธานกลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของโครงการ เรือแบ่งปัน นาวา RILCA บริรักษ์
เกิดจากความตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโควิท-19 เช่น ตกงาน ขาดรายได้ และได้แรงบันดาลใจจากตู้ปันสุข ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ

เรือแบ่งปัน นาวา RILCA บริรักษ์  เดิมเป็นยานเอนกประสงค์เรือสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบกเพื่อรณรงค์เก็บขยะในแม่น้ำลำคลอง ออกแบบโดยยุวนวัตกร ที่่เข้าร่วมโครงการยุวนวัตกรขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ที่กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่่อส่งเสริมให้นักเรียนสร้างนวัตกรรมทางสังคมขนาดเล็ก  เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาภูมิสถานบ้านเกิดของตน

ในสถานการณ์ปรกติเก่า กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ (iCulture) กำลังจัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่พิเศษ “วิวิธชาติพันธุ์” รถบ้านให้ความรู้แก่ชุมชน แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้นิทรรศการดังกล่าวไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ในช่วงเวลานี้   จากรถบ้านจึงเปลี่ยนเป็นเรือแบ่งปัน นำความรู้ ข้าวของเครื่องใช้ เรื่องราวต่าง ๆ ออกไปหาชุมชน

ในสถานการณ์ปรกติใหม่จึงเปลี่ยนแนวคิดในการออกไปหาชุมชนด้วยวิธีอื่นที่สามารถออกไปทำงานกับชุมชนได้ตามสถานการณ์ เรือแบ่งปัน นาวา RILCA บริรักษ์เป็นเรือปันสุขที่มีขนาดเล็กหรือเรือสะเทิ้นน้ำ  สะเทิ้นบก สามารถเคลื่อนย้ายออกไปชุมชนได้ง่าย โดยได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตชยางค์ ยมาภัย  หัวหน้าโครงการพันธกิจสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม แนะนำพื้นที่ ชุมชนบริเวณละแวกใกล้เคียงมหาวิทยาลัย มหิดล ศาลายา เพื่อ แบ่งปัน ให้แแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

จากการลงพื้นที่ครั้งแรก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลศาลายา และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คลองโยง ในการแบ่งปันเครื่องอุปโภคบริโภคและของใช้จำเป็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหารกระป๋อง ข้าวสาร ไข่ไก่ นม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯ

อาจารย์ดร.พธู คูศรีพิทักษ์ กล่าวถึงผลตอบรับจากการนำเรือออกตระเวนแบ่งปันว่าได้ผลตอบรับที่ดีมาก ชาวบ้านให้การต้อนรับ ทำให้ได้เห็นรอยยิ้มแห่งความสุขของคนในชุนชน ซึ่งทุกคนเป็นทั้ง “ผู้แบ่ง” และ “ผู้ปัน

เรือแบ่งปัน นาวา RILCA บริรักษ์เป็นกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ
เกิดจากการแบ่งปันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย จนเกิดเป็นพลังส่งต่อยังชุมชนใหญ่ขึ้น เพื่อส่งต่อความห่วงใยและแบ่งปันน้ำใจ จนเป็นพื้นที่กลางให้ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ภายใต้คติ ใครมีปันให้ ใครหิวแบ่งไป นับเป็นความโชคดีของสังคมไทยในด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งมีเรื่องราวของการแบ่งปันเกิดขึ้นในทุกยุคสมัย มิใช่เป็นเรื่องตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแบ่งปันที่ทุกคนสามารถทำได้ และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทุกคนจะผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปด้วยกัน

Recent post