คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จับมือกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา-บุคลากร สู่การเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์รอบรู้ด้านสุขภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)
March 5, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยายให้ความรู้ “Understand EdPEx in 3 hours” (English Version)
March 5, 2020

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จับมือกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา-บุคลากร สู่การเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์รอบรู้ด้านสุขภาพ

ph12

วันที่ 5 มีนาคม 2563 รองศาสตราจารย์ ธราดล เก่งการพานิช รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการปฐมนิเทศการฝึกปฏิบัติงานพัฒนาสุขภาพแบบบูรณาการ (การฝึกภาคสนาม) ประจำปีการศึกษา 2562 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมในพิธีปฐมนิเทศครั้งนี้ด้วย และกล่าวถึงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย และมาตรฐานการคัดแยกผู้ป่วยในโรงพยาบาล การดูแลป้องกันตนเองด้วยการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงธนาวดี ตันติทวีวัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ เรื่อง “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ (COVID-19) รอบรู้ เท่าทัน ป้องกัน และสื่อสารอย่างถูกต้อง” ให้แก่นักศึกษา และผู้สนใจผ่านระบบ Webex Virtual Classroom ณ ห้องประชุมกานดา วัฒโนภาส ชั้น 1 อาคารจรัส ยามะรัต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลังจากเสร็จพิธีปฐมนิเทศแล้ว นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ฝึกการจำลองการเกิดโรคระบาด เพื่อฝึกการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคระบาด อุบัติใหม่ ในสถานที่ทำงานจริง สาธิตการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือด้วยตนเอง โดยทีมวิทยากรจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มาให้ความรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาจะได้เรียนรู้แนวทางการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อองค์กร ตามแนวทางสำคัญขององค์การอนามัยโลก “ทุกระบบเพื่อสุขภาพ ( Health in All Policies)” การฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนวิกฤตโคโรนาไวรัสเป็นโอกาส ในการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกระบวนการรอบรู้สุขภาพ (Health literacy) ให้รู้เท่าทัน สามารถตัดสินใจ ป้องกันตนเองได้ และมีการสื่อสารที่ถูกต้อง เพื่อผลลัพธ์ คือ บุคลากร และ นักศึกษา ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีสุขภาพดี และได้รูปแบบการสร้างทุกระบบเพื่อสุขภาพ อันจะนำไปสู่การทำงานสาธารณสุข เป็นมหานครสุขภาพดี ( Megacity Health)

Recent post