คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 38/2563 (Council Visit) ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อการสร้างและเพิ่มศักยภาพผลงานด้านวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
March 19, 2020
การประชุมคณะกรรมการพัฒนาวิทยาเขตกาญจนบุรี ครั้งที่ 1/2563
March 20, 2020

คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 38/2563 (Council Visit) ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี

2

วันที่ 20 มีนาคม 2563 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมส่วนงาน ครั้งที่ 38/2563 ณ วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อกำหนดเป้าหมาย แผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563 – 2564 และรับฟังถึงผลสำเร็จของการดำเนินการที่ผ่านมา รวมทั้งการพัฒนาและความท้าทายในอนาคต โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นในการเข้าเยี่ยมส่วนงาน (Council Visit) ในครั้งนี้ โดยวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในประเด็น ดังต่อไปนี้

ผลสำเร็จที่เป็นที่ภาคภูมิใจของส่วนงานในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
1. การจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12

2. พิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการผลิตผลงานวิจัย

4. การบริการวิชาการเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสังคม เช่น หลักสูตรฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา กิจกรรมพัฒนาทักษะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การผลักดันการเป็นชุมชนต้นแบบ และพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม

5. การมุ่งสู่การเป็น Eco & Smart Campus เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาและชุมชนอย่างต่อเนื่องในเชิงสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์ธรณีและพิพิธภัณฑ์พืชความหลากหลายทางชีวภาพ)

เป้าหมายและแผนดำเนินการปีงบประมาณ 2563 – 2564 (ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12)
1. ผู้สำเร็จการศึกษารหัส 63 เป็นต้นไป มีคุณสมบัติเป็น Global Citizen ตาม Mahidol HIDEF ร้อยละ 100

2. ส่งเสริมและพัฒนาผลงานวิจัยสู่ระดับสากล โดยมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ใน Q1 เทียบกับผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในแต่ละปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และคณาจารย์/นักวิจัย ได้รับรางวัลทางวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 1 คน

3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศมากขึ้น : Kyoto University , เมียนมา, Russia และเพิ่มจำนวน Inbound และ Outbound

4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานในประเทศ เช่น จัดตั้งศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ประจำภาคกลางตอนล่าง 1, จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และจัดตั้งศูนย์ GLOBE เป็นต้น

5. พัฒนา ECO & Smart Campus ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันโดยการใช้พลังงานทางเลือกและเน้นการนำเอา IoT, QR Code, RFID, AR/VR มาใช้

Recent post