ม.มหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับกระทรวงอุตสาหกรรม ภาครัฐและเอกชนรวม 14 หน่วยงาน ผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ประเทศไทย 4.0 ตามมติ ครม.

มหาวิทยาลัยมหิดลประกาศผลการประกวดภาพถ่าย “Mahidol 361 องศา” ปี 2560
January 10, 2018
เผยผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2559
January 10, 2018

ม.มหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับกระทรวงอุตสาหกรรม ภาครัฐและเอกชนรวม 14 หน่วยงาน ผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ประเทศไทย 4.0 ตามมติ ครม.

eg2

30 สิงหาคม 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “รวมพลังความร่วมมือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ประเทศไทย 4.0” โดยมีนายอุตตม สาวนายน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอ Roadmap และมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการของประเทศ รองรับการก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560

สำหรับ Roadmap และมาตรการที่จัดทำขึ้นนี้เป็นการดำเนินการในแนวประชารัฐ โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ

1. การกระตุ้นอุปสงค์ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศ นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์ 12,000 ล้านบาทในปีแรก และมีการขยายการลงทุนได้กว่า 200,000 ล้านบาทใน 5 ปี

2. การสนับสนุนอุปทาน โดยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง System Integrator (SI) ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ ติดตั้งระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติในอนาคต โดยปัจจุบันประเทศไทยมี SI ประมาณ 200 ราย ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวน SI เป็น 1,400 ราย ภายใน 5 ปี

3. การพัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน โดยจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนชั้นนำจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายภายใน 5 ปี ต้องพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูงให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 200 ราย และฝึกอบรมบุคลากรไม่น้อยกว่า 25,000 คน

Recent post