ม.มหิดล แถลงข่าว “วัคซีนไข้เลือดออก : จุดเปลี่ยนประเทศไทยเพื่อการป้องกันแบบองค์รวม”

งานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี พ.ศ. 2560
January 3, 2018
นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล แสดงปาฐกถาในโอกาสปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป(MUGE) ปีการศึกษา 2560
January 3, 2018

ม.มหิดล แถลงข่าว “วัคซีนไข้เลือดออก : จุดเปลี่ยนประเทศไทยเพื่อการป้องกันแบบองค์รวม”

dengue7

วันที่ 22 สิงหาคม 2560 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว “วัคซีนไข้เลือดออก : จุดเปลี่ยนประเทศไทยเพื่อการป้องกันแบบองค์รวม” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประตาป สิงหศิวานนท์ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุม VDO Conference ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปัจจุบันโรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเตงกี่สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งใน 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายเป็นพาหะ ยังคงเป็นโรคที่น่ากลัวและเป็นโรคที่เฉียบพลัน ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกอาจมีอาการรุนแรง นำไปสู่ภาวะเลือดออกและภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น อาการทางสมอง หรือ ตับ เป็นต้น จนกระทั่งเสียชีวิตได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน สำหรับการใช้วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการระบาดสำหรับประชาชน กรมควบคุมโรค ยังต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยใช้ข้อมูลความชุกต่อการติดเชื้อไวรัสเตงกี่ในประชากรไทยกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว มาประกอบการพิจารณาเพื่อหากลุ่มอายุที่เหมาะสมในการให้บริการวัคซีน รวมถึงยังต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในภาพรวมของประเทศ และผลกระทบเชิงงบประมาณที่จะเกิดขึ้นเมื่อนำวัคซีนมาใช้ด้วย ประเทศไทยสูญเสียเงินไปกับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคไข้เลือดออกสูงมากถึง 290 ล้านบาท ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนิเซีย และในรอบสิบปีที่ผ่านมา แม้ว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจะลดลง เนื่องจากเทคโนโลยีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่เรากลับพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ ที่สำคัญและน่าเป็นห่วง คือ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สามารถแพร่เชื้อผ่านยุงลายไปยังผู้อื่นได้มากกว่า 10 เท่า ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการป้องกันในระดับสาธารณสุขของประเทศ

Recent post