คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล ตรวจวิเคราะห์เชื้อในอากาศ ภายในห้องผู้ป่วยหนัก COVID-19 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ ให้กับสาธารณสุขอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
April 17, 2020
มหาวิทยาลัยมหิดล มอบหน้ากากอนามัยให้แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่
April 21, 2020

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล ตรวจวิเคราะห์เชื้อในอากาศ ภายในห้องผู้ป่วยหนัก COVID-19 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

covid-ph04

วันที่ 20 เมษายน 2563 รองศาสตราจารย์ ดร. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องฟ้า อุตรารัชต์กิจ หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการลดปริมาณเชื้อในอากาศภายในห้องผู้ป่วยหนัก COVID-19 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อสามารถรองรับผู้ป่วย COVID-19 ในห้องผู้ป่วยวิกฤติเดี่ยว (ICU) และห้องผู้ป่วยวิกฤติรวม (Cohort Ward) ได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งสิ้น 41 เตียง

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล และทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมกัน ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศเพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนห้องผู้ป่วยธรรมดาให้กลายเป็นห้องแรงดันลบ ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อใช้ในการรองรับผู้ป่วย COVID-19 โดยใช้งบประมาณและเวลาที่ใช้ในการติดตั้งน้อยที่สุด เพื่อพัฒนาห้อง True Negative Pressure ตามมาตรฐาน WHO และ CDC สหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนด 3 ข้อ คือ ต้องสามารถควบคุมแรงดันภายในห้องให้เป็นแรงดันลบ (Negative Pressure) อากาศใหม่หรือ Fresh Air ต้องไหลจากโซนสะอาด (บุคลากรทางการแพทย์) ไปยังโซนสกปรก (ผู้ป่วย) เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยมาสู่บุคลากรทางการแพทย์ และต้องสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ นอกจากการทดสอบประสิทธิภาพทางด้านวิศวกรรมแล้ว ระบบปรับอากาศดังกล่าวยังผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของระบบในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ทนความร้อนและความแห้งได้ดี การทดสอบภายในห้องปฏิบัติการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวิเคราะห์ปริมาณเชื้อในสิ่งแวดล้อม

ทีมวิจัยพบว่าระบบฟอกอากาศดังกล่าวสามารถฆ่าเชื้อ Staphylococcus aureus ได้สูงถึง 99.54% ภายในเวลา 3 ชั่วโมง และภายหลังจากที่บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ติดตั้งระบบดังกล่าวภายในห้องผู้ป่วยวิกฤติเดี่ยว (ICU) และห้องผู้ป่วยวิกฤติรวม (Cohort Ward) เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วย COVID-19 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการทดสอบหาปริมาณแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ ณ สถานที่ติดตั้งจริงอีกครั้ง และพบว่า ระบบดังกล่าวสามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียภายในห้องผู้ป่วยสูงถึง 98.3% เมื่อเปิดระบบดังกล่าวเป็นเวลา 8 ชั่วโมง

Recent post