ม.มหิดล จัดงาน Healthy University Day 2021 “ร่วมกันสร้างจุดยืน ไม่รับทุนสนับสนุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่/ยาสูบ”

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ “เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี” เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable university)
March 18, 2021
ม.มหิดล เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนฯ และยุทธศาสตร์การจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ฯ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5-10 ปี) ครั้งที่ 1/2564
March 18, 2021

ม.มหิดล จัดงาน Healthy University Day 2021 “ร่วมกันสร้างจุดยืน ไม่รับทุนสนับสนุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่/ยาสูบ”

hud-01

วันที่ 18 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสร้างจุดยืนไม่รับทุนวิจัยและการสนับสนุนจากบริษัทยาสูบ” ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและสร้างจุดยืนให้กับสังคม ในวัน Healthy University Day 2021 โดยในปีนี้ได้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 ในรูปแบบกิจกรรมเชิง Social Impact เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ บุคลากร และนักศึกษา ในการที่จะไม่สนับสนุน ส่งเสริม หรือรับทุนจากบริษัทบุหรี่/ยาสูบ ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

hud-003

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดพร้อมประกาศเจตนารมย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในงาน “เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสร้างจุดยืนไม่รับทุนวิจัย และการสนับสนุนจากบริษัทยาสูบ” ว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล ขอประกาศเจตนารมณ์ว่า มหาวิทยาลัยมหิดลจะไม่ร่วมมือกับบริษัทบุหรี่ในการดำเนินกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทุกรูปแบบ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Convention on Tobacco Control; FCTC) กฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรก ที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้น เพื่อช่วยในการควบคุมยาสูบ ซึ่งเป็นสินค้าที่อันตรายต่อสุขภาพ และสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ที่ห้ามไม่ให้บริษัทบุหรี่ให้ทุนบุคลากรของมหาวิทยาลัย และขอเชิญชวนมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทย ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างระบบธรรมภิบาลภายในองค์กร และป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ  รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร นำเข้าสู่พิธี “ปักธง รวมใจไม่รับทุน” โดยมี ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพทิยากร เลขาธิการเครือข่าย AUN-HPN รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมในพิธีฯ

2 AUN_๒๑๐๓๑๘_0
2 AUN_๒๑๐๓๑๘_1

นอกจากนี้ ภายในกิจกรรมฯ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ทำไมมหาวิทยาลัยต้องมีนโยบายไม่รับทุนจากบริษัทบุหรี่” และ “Global movement in rejecting partnership with tobacco industry” โดย คุณบังอร ฤทธิภักดี  Executive Director Global Center for Good Governance in Tobacco Control (GGTC) กล่าวว่า “ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกกว่า 20 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีคณะแพทย์ศาสตร์ หรือ School of Medicine เป็นต้น ได้ประกาศนโยบายไม่รับทุนและไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ กับบริษัทบุหรี่ และเครือข่ายของบริษัทบุหรี่ อาทิ มูลนิธิและองค์กรต่างๆ ที่บริษัทบุหรี่จัดตั้งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Convention on Tobacco Control; WHO FCTC) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบอันเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การขับเคลื่อนในครั้งนี้มี 3 เหตุผลหลัก คือ 1.บุหรี่เป็นสินค้าเพียวชนิดเดียวที่ทำให้ผู้บริโภคสินค้าของตนเองเสียชีวิตแม้จะใช้สินค้านั้นตามปกติ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่แล้วกว่า 8 ล้านคน 2. มีผลงานทางวิชาการแสดงไว้ว่าบุหรี่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งในเหตุการณ์ปกติและในช่วงที่เกิดโรคระบาด และ 3. การแสดงจุดยืนนี้ถือเป็นต้นแบบของสังคมเพื่อขับเคลื่อนเจตนารมย์นี้” และการบรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่หัวข้อ “นักวิชาการไทยรู้ทันกลยุทธ์และไม่ขอมีส่วนร่วมกับบริษัทบุหรี่” กล่าวว่า “ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มาตรา 35 ที่ห้ามผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การอุปถัมภ์ การประกาศงดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่จึงสอดคล้องกับกฎหมายไทย และ ช่วยให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสามารถทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ไม่ละเมิดกฎหมาย และผลิตผลงานวิชาการที่ก่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน

เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ASEAN University Network หรือ AUN เป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน จำนวน 30 สถาบันใน 10 ประเทศ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้รับการศึกษา การอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์ และมีฐานะที่มั่นคง โดยผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ปัจจุบันมีการดำเนินงานภายใต้ ASEAN University Network 16 เครือข่าย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของเครือข่ายเฉพาะทางด้าน AUN Human Rights Education Network (AUN-HREN) และ AUN-Health Promotion Network หรือ AUN-HPN