สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัด “รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19”

คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดประชุมวิชาการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาและการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร”
November 1, 2021
พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับมูลนิธิกสิกรไทย
November 2, 2021

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัด “รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19”

วันที่ 31 ตุลาคม 2564 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันฯ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกเล่าประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวถึงประเด็น “ถอดบทเรียนความพร้อมศูนย์เด็กปฐมวัย” ว่าต้องเตรียมอย่างไรบ้าง แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง ต้องกำหนดให้การติดเชื้อในเด็กปฐมวัย เป็น 0 เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สำคัญของการควบคุมการระบาดในพื้นที่ ได้แนะนำการจัดการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียนอนุบาลต้องดำเนินการแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อย่างเคร่งครัด

คุณงามตา รอดสนใจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการเครือข่าย ได้แนะนำในเรื่อง “มาตรฐานและเงื่อนไขในการเปิดสถานดูแลเด็กปฐมวัยในสถานการณ์โควิด-19” ว่าต้องเตรียมการอย่างไรและแนวทางในการ ดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคลินิกและศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ถอดบทเรียนในเรื่อง “การเตรียมผู้ปกครอง และเตรียมศูนย์เด็ก” ต้องเตรียมการอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถอดบทเรียนการสื่อสารเพื่อเตรียมผู้ปกครองและเตรียมบุคลากร เตรียมเด็กอย่างไร ในการให้เด็กตรวจ ATK และรูปแบบการตรวจ ATK รวมถึงการให้ข้อมูลกับเด็กทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยไม่บังคับ และสร้างความคุ้นเคย และเป้าหมายของการจัดการให้เกิดความสมดุล การป้องกันการแพร่กระจาย พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และทรัพยากรของแต่ละสถานที่

คุณครูบุษยรัต ซื่อดี รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย “นำทีมถอดบทเรียนประสบการณ์การดูแลเด็กปฐมวัย รูปแบบ New Normal” ในการดูแลเด็กปฐมวัยรูปแบบ New Normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การรองรับการฟื้นฟูหลังการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ควรมีระบบแผนเฝ้าระวัง และการจัดการความเสี่ยง ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 การเตรียมความพร้อมผู้ปกครอง ในการทำกิจกรรมสนทนา (ประสา) ครอบครัว ของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย การตรวจ ATK รวมถึงการจัดการห้องเรียน ในรูปแบบที่กำหนด รวมถึงการรับผู้ดูแลเด็ก (อาสา) เพื่อดูแลเด็กในช่วงสถานการณ์โควิดเพิ่มขึ้น

คุณครูไพจิตตรี ชาญเดชรัตนะ ครูปฐมวัย มาแชร์ข้อมูลการรับส่ง-เด็ก และระบบคัดกรองรายวัน ทางศูนย์เด็กจะขอความร่วมมือผู้ปกครองให้มารับส่งเด็กในช่วง 7.30-9.00 น. พอมาถึงจะให้ผู้ปกครองได้คัดกรองผ่านระบบ Google form เพื่อการตอบข้อมูลเบื้องต้นในการคัดกรอง ให้ผู้ปกครองส่งในพื้นที่ scan วัดไข้ หน้าทางเข้าตึก การทำกิจกรรมต่าง ๆ และในทุกวันจันทร์ จะแนะนำการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับน้อง ๆ เพื่อเตรียมมาใช้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กว่ามีอะไรบ้าง การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การจัดที่นอนสำหรับเด็ก ควรมีลักษณะอย่างไร และยกตัวอย่างการทำความสะอาดของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

คุณครูเพ็ญนภา นาคหล่อ มาแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในรูปแบบ New Normal เทคนิคที่ใช้เป็นการวางแผนจัดการพื้นที่ในการจัดเตรียมโต๊ะ ระยะห่างที่เหมาะสม แยกรับประทานเฉพาะบุคคล และไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เมนูส่งเสริมสุขภาพและอาหารที่หลากหลาย และระวังการแพ้อาหารของเด็ก การแยกอาหารตาม Bubble และจัดเตรียมการรับประทานอาหารในพื้นที่ Bubble ของตนเอง

คุณครูนรมน ดิษฐสกุล และ คุณครูนันท์กนก พัชรนิธิอำไพ เล่าประสบการณ์การดูแลเด็กในระดับชั้นปฐมวัย อายุระหว่าง 1 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ แบ่งเด็กในแต่ละห้องเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน เมื่อเปิดเรียนใหม่ ๆ เน้นการปรับตัวให้กับเด็ก ๆ ใช้สื่อต่างๆ สร้างความสัมพันธ์ให้เด็กได้ผ่อนคลาย ใช้สื่อเพลงในการทำสันทนาการให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการนำมาสอนเด็ก ๆ สอนให้เด็ก ๆ ได้ใส่หน้ากากอนามัย เข้าใจเหตุผลของการใส่เพื่อป้องการเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การทำกิจกรรมออกกำลังกาย ชักชวนให้เด็กมาออกกำลังกาย และออกแบบกิจกรรมใหม่ ๆ ให้เด็กในแต่ละวันเพื่อเพิ่มความสนใจให้กับเด็ก

คุณครูมาริสา สังขาร และ คุณครูจิราภา สิงห์เงา แชร์ประสบการณ์การดูแลเด็กระดับชั้นอนุบาล เล่ากิจกรรมต่างในระดับชั้นอนุบาล 1-3 การเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเด็ก ต้องเตรียมแผนการสอน แต่ในเวลาปฏิบัติจริงต้องเตรียมแผนสำรองในการเตรียมการสอน เน้นเพิ่มในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คือแบ่งเด็กออกเป็น Bubble การสวมหน้ากากอนามัย ระยะห่างและการล้างมือ เด็กเรียนรู้สามารถปฏิบัติตามได้ 100 % กิจกรรม myself เป็นการสร้างความคุ้นเคย เพื่อพัฒนาทักษะในกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาทักษะความพร้อมทางวิชาการและสติปัญญา การเรียนรู้จักพยัญชนะผ่านชื่อตนเอง และแนะนำตัวอย่างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ความพร้อมทางวิชาการ

อาจารย์ ดร.ประภัสสร พวงสำลี อาจารย์ประจำสถาบันฯ มาแนะนำกิจกรรมสันทนาการดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานการณ์โควิด-19 การจัดเตรียมความพร้อมในการจัดห้องเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ ออกแบบกิจกรรมโดยไม่ต้องสัมผัสกัน ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม เพื่อฝึกความกล้าแสดงออก พร้อมกระตุ้นการสังเกตของเด็ก ๆ

อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันฯ อัพเดทสถานการณ์ด้านกฎหมายและนโยบายโควิด-19 ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ อัพเดทการฉีดวัคซีนในเด็กและอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ ที่ ศบค.อัพเดทสำหรับโรงเรียนและนักเรียนในการเตรียมตัวการเปิดเทอม แนะนำมาตรฐานการตรวจแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการประเมินในการเตรียมการเปิดสำหรับศูนย์เด็กที่จะเปิดในเดือนพฤศจิกายน ของ UNICEF THAILAND และแนะนำแนวทางเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในการเปิดภาคเรียน

โดยรายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่จัดขึ้น มีผู้เข้าร่วมการถอดบทเรียนในครั้งนี้กว่า 1,700 คน ผ่านระบบ ZOOM MEETING และ Facebook Live NICFD Mahidol มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อและมีการจัดการแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มควบคุมได้บ้าง และสร้างต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีความพร้อมรับเด็กที่มีความเครียดและภาวะบอบช้ำทางใจ (trauma informed education and care) อันเป็นผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 3. สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 4. สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้อ 10. ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ ข้อ 11. ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน และข้อ 16. ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ