คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) เตรียมศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 เดือนมีนาคมนี้”

มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโครงการ Digital KM Masterclass
February 10, 2021
mahidol,osaka,meeting,mu
มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมหารือการจัดงาน Osaka University Partner Summit (ครั้งที่ 2)
February 10, 2021

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) เตรียมศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 เดือนมีนาคมนี้”

gpo,tm,ไทยชนะ,distancing,mask,hand washing,mahidol

gpo,tm,ไทยชนะ,distancing,mask,hand washing,mahidol

gpo,tm,ไทยชนะ,distancing,mask,hand washing,mahidol

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน และหัวหน้าศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าว “องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) เตรียมศึกษาวิจัยวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตายในมนุษย์ระยะที่ 1 เดือนมีนาคมนี้” โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง ภาพรวมของการดำเนินการวิจัย และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ขององค์การเภสัชกรรม นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึง ความร่วมมือกับสถาบัน PATH ประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ในการวิจัยพัฒนาเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึง ผลเบื้องต้นจากการทดสอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสัตว์ทดลอง และนายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึง การให้ความสำคัญและการสนับสนุนการวิจัยวัคซีนในประเทศไทย ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร ชั้น 9 อาคาร 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน กล่าวถึงแนวทางและความพร้อมในการศึกษาวิจัยทางคลินิกวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในมนุษย์ ว่า คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นแห่งเดียวนอกทวีปอเมริกาที่ทำการวิจัยทางคลินิกเพื่อหาประสิทธิผลของวัคซีนเอดส์ขนาดใหญ่ 2 โครงการ และนำไปสู่ผลงานที่สำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาวิจัยวัคซีนทางคลินิกต่อโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลก โดยมีส่วนร่วมในการวิจัยพัฒนาวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียน 6 วัคซีน โดยในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิค-19 ศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้เข้าอยู่ในเครือข่ายการทดสอบวัคซีนระดับนานาชาติขององค์การอนามัยโลก เพื่อเตรียมการวิจัยและทดสอบวัคซีนทางคลินิก ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย เพื่อความมั่นคงด้านวัคซีน ทำให้ศูนย์วัคซีนมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกลยุทธเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพ ผ่านการทดสอบตามลำดับโดยเฉพาะการศึกษาทางคลินิกและสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปขึ้นทะเบียน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน และหัวหน้าศูนย์วัคซีน กล่าวเพิ่มเติมว่า องค์การเภสัชกรรม ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2019 (NDV LaSota – S Hexapro COVID-19 vaccine; NDV-HXP-S) โดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงาน Program for Appropriate Technology in Health (PATH) ประเทศสหรัฐอเมริกา, Icahn School of Medicine at Mount Sinai, บริษัท Dynavax Technologies, มหาวิทยาลัยเท็กซัส และผู้ผลิตอื่นในต่างประเทศ จำนวน 2 บริษัท ได้รับทุนในการวิจัยเบื้องต้นจากมูลนิธิเมลินดาและเกตส์ ศูนย์วัคซีน โดยคณาจารย์คณะเวชศาสตร์เขตร้อนจะเป็นผู้ดำเนินการศึกษาแบบรวมระยะที่ 1 และ 2 ซึ่งออกแบบมาเพื่อประเมินความปลอดภัย ความทนทาน และความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนวิจัยที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม “NDV-HXP-S” ในช่วงของระดับ S-antigen ที่หลากหลาย บางตัวมีการใช้ CpG 1018 เป็นตัวเสริม ในจำนวนอาสาสมัคร 210 คน ในการวิจัยทางคลินิกระยะแรก และอาสาสมัครอีก 250 คนในการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2 โดยมีจุดมุ่งหมายในการคัดเลือกวัคซีนเพียงตัวเดียว เพื่อให้เข้าสู่การวิจัยระยะที่ 3 อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) เผยผลวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ซึ่งร่วมพัฒนากับพันธมิตรในต่างประเทศ ทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ผลดีและมีความปลอดภัย โดยร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมศึกษาวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 1 เดือนมีนาคมนี้ และจะผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟักที่ใช้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ที่โรงงานผลิตวัคซีนขององค์การเภสัชกรรมที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ปีละประมาณ 25-30 ล้านโด๊ส เพื่อสร้างความมั่นคง การพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนของประเทศไทย