สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “การจัดการความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาสำหรับกลุ่มแรงงานและบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในไทยทั้งในฐานะประเทศปลายทางและต้นทาง”

คณะศิลปศาสตร์ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะศิลปศาสตร์ครบรอบ 18 ปี
December 17, 2021
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล จัดกิจกรรม “MU Safe School Virtual Workshop 7”
December 18, 2021

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “การจัดการความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาสำหรับกลุ่มแรงงานและบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในไทยทั้งในฐานะประเทศปลายทางและต้นทาง”

วันที่ 18 ธันวาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานเสวนา เรื่อง “การจัดการความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม และการศึกษาสำหรับกลุ่มแรงงานและบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในไทยทั้งในฐานะประเทศปลายทางและต้นทาง” ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ ประธานศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงวัตถุประสงค์การเสวนา โดยมี คุณเอกพงศ์ แสนวรรณ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ องค์การช่วยเหลือเด็กระหว่างประเทศ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Save the Children กับสถานการณ์สิทธิเด็กในประเทศไทย” ผ่านระบบออนไลน์

จากนั้น เป็นการเสวนา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.โสภนา ศรีจำปา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “นโยบายและการจัดการความหลากหลายทางด้านภาษาในอาเซียน : กรณีศึกษากลุ่มแรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือในไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลี สันภูวรรณ์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “แรงงานไทยในไต้หวันกับต้นทุนการย้ายถิ่น” นอกจากนี้ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็น การพัฒนาการศึกษาบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาการพัฒนาทักษะภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดตากและระนอง” โดยมีวิทยากรร่วมบรรยาย 3 ท่าน ได้แก่ ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล คุณรณชัย จินตนธรรม ผู้ประสานงานโครงการ REACT II, Save the Children นางสาวิตรี อิสระกุล ตัวแทนครูจากโรงเรียนบ้านทุ่งมะพร้าว จังหวัดระนอง และ Miss Ei Ei Thet ตัวแทนครูจากศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิการศึกษาประกายแสง (BEAM) จังหวัดระนอง

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทั้งภายในสถาบัน มหาวิทยาลัย และเครือข่ายภายนอก จัดเสวนาวิชาการเรื่องดังกล่าว เนื่องในวันที่ 18 ธันวาคม เป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล (International Migrants Day) ตามประกาศขององค์กรสหประชาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และนักพัฒนา ด้านภาษา วัฒนธรรมและการศึกษากลุ่มแรงงานข้ามชาติ สร้างความตระหนักและความเข้าใจ ตลอดจนเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกลุ่มแรงงานและการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของบุตรหลานแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย รวมถึงการสะท้อนภาพของคนไทยในฐานะแรงงานข้ามชาติกรณีที่ไปทำงานประเทศอื่น อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้