มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมอำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology: CEMB)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประชุมที่ปรึกษาการวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation Advisory Committee)
November 12, 2021
นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คะแนนสูงสุดของประเทศจากโครงการ From Gen Z to be CEO
November 12, 2021

มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมอำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology: CEMB)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology: CEMB) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ ผู้บริหารส่วนงาน และผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมประชุม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ กล่าวต้อนรับ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อหารือถึงผลการดำเนินงานของศูนย์ ในปี พ.ศ. 2563-2564 และแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ในระยะต่อไป

โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันแกนนำของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือโดยมีกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้ และความชำนาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากมหาวิทยาลัย 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้ร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อเสริมศักยภาพของประเทศด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตตัวยาชีววัตถุใหม่ สำหรับการรักษาและชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยใช้หลักการทำวิจัยครบวงจร เริ่มที่ระดับ Basic Research (ต้นน้ำ) การพัฒนากระบวนการจัดทำผลิตภัณฑ์ (กลางน้ำ) ไปจนถึงการพัฒนาและขยายขอบเขตการผลิต ผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรม และใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ (Translational Research) อีกทั้ง ยังนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบปัญหาสุขภาพ และสาธารณสุขของประเทศ นอกจากนี้ยังร่วมมือกันผลิตบุคลากรในระดับต่าง ๆ เพื่อเสริมศักยภาพของประเทศ ทั้งงานวิจัยในภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และการวิจัยเชิงพาณิชย์ในภาคเอกชนต่อไป