คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) เพื่อพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการ SDG Solutions Lab

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่  4/2563 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
October 25, 2020
คณะผู้บริหาร ม.มหิดล รับข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2564 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
October 26, 2020

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) เพื่อพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการ SDG Solutions Lab

EG-9

26 ตุลาคม 2563 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) กับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) โดย นางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) เลขาธิการบริหาร พร้อมด้วย นาย อัดนัน เอช.อาเลียนี (Mr. Adnan H. Aliani) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการยุทธศาสตร์และแผน เพื่อร่วมกันพัฒนา ศูนย์ปฏิบัติการ “SDG Solutions Lab” ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหา มุ่งสู่ความสำเร็จและเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ณ สำนักงานสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก

เป้าหมายของ SDG Solutions Lab จะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มและระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาระหว่างเครือข่ายสหประชาชาติ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาวิชาการและสังคม ศูนย์ปฏิบัติการจะเชื่อมโยงนวัตกรและเมนเทอร์จากทั่วโลก รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์และแหล่งความรู้ได้ทั่วโลก โดยความร่วมมือนี้ มีระยะเวลา 3 ปี เพื่อเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน สาระสำคัญของความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย คือ การร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของ SDG Solutions Lab, สร้างเสริมเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการ, บริหารจัดการด้านทุนสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการในระยะยาว, บริหารจัดการเครือข่ายในการมีส่วนร่วมกับโครงการทดลองและกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการ, ร่วมสร้างสรรค์และทดสอบกิจกรรมโครงการของศูนย์ปฏิบัติการ, สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสถานที่สำหรับใช้ประโยชน์หรือกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการ ทั้งนี้ จะเป็นผลดีต่อการพัฒนานวัตกรรมและสตาร์ทอัพ และรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนและความมั่นคงทางสุขภาพตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ตลอดจนพัฒนาการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด -19 และวิถีโลกที่เปลี่ยนไป

รายละเอียดเพิ่มเติม ::>>> อ่านต่อ..