ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) และ ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 40
August 5, 2022
ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ ถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัญหา แชร์มาตรการแก้ไข เหตุการณ์ “ไฟไหม้ผับ Mountain B”
August 5, 2022

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) และ ศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

วันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2565 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) และศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (Thailand – U.S. CDC Collaboration, TUC) จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Important respiratory viruses in the 21st century” แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการข้อมูล กระบวนการทดสอบ เตรียมรับมือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ กล่าวต้อนรับและเปิดการบรรยายหลักการและการสาธิตทางห้องปฏิบัติการ เรื่อง Viral inhibition assays for drug and vaccine evaluation สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคทางห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ได้แก่ plaque reduction neutralization assay, pseudovirus neutralization assay, microneutralization assay, focus reduction neutralization assay และการทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพร หรือยาในการยับยั้งเชื้อไวรัส เพื่อนำไปประยุกต์ใช้โดยเฉพาะ โดยมีนักไวรัสวิทยาแนวหน้าของประเทศไทยพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญ อาทิ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.กอบพร บุญนาค และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยรัตน์ เลิศสำราญ พร้อมทีมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญบรรยายให้ความรู้และดูแลให้คำแนะนำตลอดการสาธิตการปฏิบัติการ ณ ห้อง MDL 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ (ตึก K) ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

โอกาสนี้ มีแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการจำนวนมากร่วมนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานของประเทศไทยในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ตั้งแต่ โรคไข้หวัดนก (H5N1 avian influenza), โรค COVID-19 ไปจนถึงโรคฝีดาษลิง พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการเกิดโรค COVID-19 และผลของโรคในระยะยาว รวมถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อ ไวรัส SARS-CoV-2 อีกด้วย