มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับส่วนงานตามเกณฑ์ EdPEx ประจำปี 2565
August 31, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest จัดโดย กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน นางสาวชลทิพา วิญญุนาวรรณ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองประชาสัมพันธ์การทูตสาธารณะ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายฤทธิชัย ทับสุวรรณ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองประชาสัมพันธ์การทูตสาธารณะ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อาจารย์ ดร.ฉันฐรัช หงษ์บุญไตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินในกิจกรรมดังกล่าว โดยมี ผลการตัดสินรางวัลดังนี้

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา คณะวิทยาศาสตร์

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ นายชอน กัลอัพ คณะวิศวกรรมศาสตร์

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ นางสาวษัณณพร เจริญทิพย์ คณะศิลปศาสตร์ และ นางสาวพิชญ์สินี เลิศจตุรวิทย์ คณะศิลปศาสตร์

รางวัลชมเชย ได้แก่
นายณฐนน กิตติมงคลสุข  โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Ms. Shormeli Akter วิทยาลัยนานาชาติ
นางสาวพัชรนันท์ พลอมรวรีย์  คณะศิลปศาสตร์
นางสาวซอนย่า แยปปิเน่น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
นางสาวอิสริญาจ์ ศรีเศวตศุภรักษ์ คณะเภสัชศาสตร์

กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความมีส่วนร่วม ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่าย Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC): Open. Connect. Balance. ประจำปี 2565 อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความรัก ความผูกพันในฐานะประชาคมภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ให้แก่นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยเน้นย้ำแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) และการนับรวมทุกกลุ่มคน (Inclusiveness)