USGS-National Wildlife Health Center และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ General Surveillance for Wildlife Diseases and Outbreak Investigation

ม.มหิดล ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนา Ecosystem เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยฯ ครั้งที่ 5/2565
May 30, 2022
คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อ “นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็น World Class University”
May 30, 2022

USGS-National Wildlife Health Center และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ General Surveillance for Wildlife Diseases and Outbreak Investigation

รองศาสตราจารย์ ดร. สัตวแพทย์หญิงวลาสินี ศักดิ์คำดวง คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “General Surveillance for Wildlife Diseases and Outbreak Investigation” เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของภาคีเครือข่าย ได้แก่ สัตวแพทย์หญิงศุภลักษณ์ ประจันทร์ ผู้แทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คุณสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม ประธานภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม โดยมีรองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ พัทยา ทั้งนี้งานดังกล่าวจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 โดยความร่วมมือระหว่าง United States Geological Survey – National Wildlife Health Center (USGS -NWHC) ศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ (Thailand – NWHC) และศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ (MoZWE) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสนี้  ได้รับเกียรติจาก Dr. Jonathan Sleeman, Center Director of the USGS-NWHC พร้อมด้วย Dr. LeAnn White, Deputy Center Director of the USGS-NWHC และ Dr. Daniel Walsh, USGS – Montana Cooperative Research Unit เป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติตลอดกิจกรรม

สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นผู้แทนจากหน่วยงานสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและติดตามโรคในสัตว์ป่าทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันอุดมศึกษา อาทิ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานต่างประเทศ อาทิ Health Security Partners ร่วมด้วยผู้แทนจาก Wildlife Conservation Society (Laos) และ National Animal Health Laboratory Centre, Department of Livestock and Fisheries จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อีกทั้งยังมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และ USAID เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมฯ

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เกิดขึ้นสืบเนื่องจากกิจกรรมโครงการ OIE (WOAH) Twinning Laboratory Project ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง USGS-NHWC ศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ (Thailand – NWHC) และศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ (MoZWE) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อร่วมสร้างระบบเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่า การจัดทำฐานข้อมูลโรคในสัตว์ป่า และเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการเฝ้าระวังโรคทั่วและโรคอุบัติใหม่ (EIDS) และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสุขภาพสัตว์ป่าในประเทศไทย