มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “53 ปี วันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีเปิดศูนย์วิจัย AI “สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล” เพื่อยกระดับการวิจัยสู่เครือข่ายระดับชาติ โดยได้รับการสนับสนุนจาก (อว.)
March 2, 2022
ม.มหิดล จัดการอบรม “การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด” ปีงบประมาณ 2565
March 3, 2022

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “53 ปี วันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”

วันที่ 2 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ “53 ปี วันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารส่วนงาน และผู้เเทนส่วนงาน ร่วมในพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

จากนั้น เป็นพิธีบําเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมราชชนก และพิธีเปิดนิทรรศการครบรอบ 53 ปีวันพระราชทานนาม และ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล : จากอดีตมุ่งสู่อนาคต

ในโอกาสนี้ ได้จัดแสดงปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 12 เรื่อง “การปฏิรูป อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมไทย : ไม่มีวันหยุดยั้ง” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้กล่าวถึง การปฏิรูป อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมไทย ว่า

การปฏิรูปประการที่ 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สามารถให้ทุนกับเอกชนในการทำวิจัย และสามารถทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศชาติต่อไป

การปฏิรูปประการที่ 2 ตั้งกองทุนการพัฒนาเพื่อการอุดมศึกษา ควบคู่กับกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการส่งเสริมการทำวิจัย พัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของประเทศ

การปฏิรูปประการที่ 3 มีการแบ่งมหาวิทยาลัยเป็น 5 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นเรื่องการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยที่ทำเรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ซึ่งแต่ละประเภทมีความเป็นเลิศที่แตกต่างกัน

การปฏิรูปประการที่ 4 การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ โดยวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ผ่านงานวิจัยและตำรา นำผลงานที่ดำเนินการนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้ององเขียนตำรา หรือวิจัย แต่นำผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ผลงานทางศาสนา มาขอตำแหน่งทางวิชาการได้

การปฏิรูปประการที่ 5 ลดข้อจำกัดเรื่องเวลาของการเรียน การเรียนไม่จบเพราะเรียนเกินเวลา ยกเลิกการการพ้นสภาพนักศึกษาจากเหตุผลที่เรียนเกินเวลาที่กำหนด

การปฏิรูปประการที่ 6 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างสถาบันการศึกษา 25 แห่งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สามารถเรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้

การปฏิรูปประการที่ 7 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กำลังหารือถึงมาตรการแก้ไขให้มีการกู้เงินเรียนในสาขาที่ประเทศต้องการ อาจไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้น หรืออาจจะคืนเงินต้นแต่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

การปฏิรูปประการที่ 8 แซนด์บ็อกซ์อุดมศึกษา การยกเว้นกติกาต่าง ๆ การจัดการศึกษาที่แตกต่างออกไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และเป็นมิติใหม่ของการจัดทำหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์มาตรฐานของการพัฒนากำลังคนอย่างเร่งด่วน

การปฏิรูปประการที่ 9 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีการจัดตั้งวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ หรือธัชชา เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และมีการดำเนินการจัดตั้ง ธัชวิทย์ ทำหน้าที่เป็น Excellent center ทางวิทยาศาสตร์ รวบรวมคนเก่ง ข้ามมหาวิทยาลัย ข้ามหน่วยงานต่าง ๆ ให้มาอยู่รวมกัน

การปฏิรูปประการที่ 10 มีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ งานวิจัยจะเป็นของผู้ขอทุนวิจัย งานวิจัยจะไม่ได้เป็นของผู้ให้ทุนเหมือนเช่นก่อน

ต่อจากนั้น เป็นพิธีมอบรางวัล โดยมี พลตำรวจเอก นายแพทย์จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลต่าง ๆ ได้แก่
– รางวัล “มหิดลทยากร
– รางวัล “คนดีศรีมหิดล
– รางวัล “อาจารย์ตัวอย่างจากสภาคณาจารย์
– รางวัล The Giver Award
– รางวัล “ผลงานการประดิษฐ์ที่ได้รับสิทธิบัตรฯ
– รางวัล “ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ประจำปี 2564