พิธีเปิดการอบรม “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” รุ่นที่ 1

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม APAIE 2022 Conference and Exhibition
March 29, 2022
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ทางเท้าอันตราย ทางม้าลายมรณะ”
March 29, 2022

พิธีเปิดการอบรม “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” รุ่นที่ 1

วันที่ 29 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรม “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” รุ่นที่ 1 พร้อมด้วย ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ และประธานคณะทำงานแกนนำในการพัฒนาระบบ Healthy University Rating Systems (HURS) และ รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และเลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ ให้เกียรติเป็นวิทยากร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมือ HURS ผ่านระบบออนไลน์

การอบรม “การประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS)” ในวันนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพเกิดประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพตามกรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN-HPN ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นับว่าเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่ง ทำให้เห็นการตื่นตัวของมหาวิทยาลัยและภาคีต่าง ๆ ในการร่วมมือส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี ภายใต้กรอบแนวทางมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพ หรือ AUN Healthy University Framework  และให้ความสำคัญต่อการนำ HURS มาใช้พัฒนาสถาบันการศึกษาให้เกิดความก้าวหน้า และคาดหวังว่าผู้เข้าอบรม HURS จะเป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างเสริมสุขภาพของประเทศไทย และแก่ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน  การอบรมครั้งนี้ ได้รับความสนใจและตอบรับที่ดี จากผู้บริหาร  อาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (AUN-HPN) ในประเทศไทย จำนวน 11 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 60 คน

ทั้งนี้ จะมีการเตรียมความพร้อมประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ Healthy University Rating Systems (HURS) ใน Version 2022 เพื่อเปิดระบบการประเมินให้มหาวิทยาลัยในอาเซียนที่มีความสนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมการประเมินมหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพด้วยเครื่องมือ HURS