คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง “Innovation & Construction Technology” ในโครงการ SALAYA ONE

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณะผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
February 10, 2022
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Meet the President : ประชาคมมหิดลพบอธิการบดี EP1: กลยุทธ์การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคลและความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของบุคลากร ภายใต้สถานการณ์ COVID-19
February 11, 2022

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง “Innovation & Construction Technology” ในโครงการ SALAYA ONE

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณสยามรัฐ สุทธานุกูล Chief Marketing Officer บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด คุณเดชา ตั้งสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มีนำ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด นายแพทย์เชิดศักดิ์ อัมพรสุขสกุล Managing Director บริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด และ รองศาสตราจารย์ ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง “Innovation & Construction Technology” ในโครงการ SALAYA ONE โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล คุณบุญรอด คุปติทัฬหิ Concrete Technology Center Director คุณกัลยา วรุณโณ Managing Director/ Smart Structure Business บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด คุณวีระวงค์ วงศ์วัฒนะเดช Strategic Marketing Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด และ คุณเดชโรจน์ ตั้งสิน กรรมการบริหาร บริษัท มีนำ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ 411 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างมายกระดับการทำงาน โดยมีเป้าหมายการเป็น Green Construction ที่จะช่วยลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการอยู่อาศัย รวมทั้งการประหยัดพลังงาน เพื่อให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีกับที่อยู่อาศัยในยุค New Normal รวมทั้งส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเปิดกว้างในการพัฒนาและต่อยอด Solution ร่วมกัน