คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดสัมมนาออนไลน์ “PM 2.5 กับรูปแบบใหม่ของการจัดการเชิงรุก (เราพร้อม)”

มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม The 2020 SATU General Assembly
November 2, 2021
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “EdPEx Criteria Training: จากเกณฑ์ TQA ลงสู่การปฏิบัติ” ครั้งที่ 17
November 3, 2021

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จัดสัมมนาออนไลน์ “PM 2.5 กับรูปแบบใหม่ของการจัดการเชิงรุก (เราพร้อม)”

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาออนไลน์ เรื่อง “PM 2.5 กับรูปแบบใหม่ของการจัดการเชิงรุก (เราพร้อม)”  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การจัดการรูปแบบใหม่เชิงรุกในการดำเนินมาตรการรองรับปัญหา PM 2.5″

จากนั้น ดร.ศักดา ตรีเดช ผู้อำนวยการศูนย์แบบจำลองคุณภาพอากาศและภูมิสารสนเทศ กรมควบคุมมลพิษ บรรยายหัวข้อ “พร้อมแค่ไหนกับการพยากรณ์ PM 2.5?” นายวิรัช ตันชนะประดิษฐ์ ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร บรรยายหัวข้อ “แล้วพื้นที่พร้อมแค่ไหนในการจัดการเชิงรุกแบบใหม่” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายหัวข้อ “เมื่อ PM 2.5 พบกับ COVID-19 ป้องกันตัวอย่างไรให้ปลอดภัย” และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “เพิ่มความมั่นใจความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วย Air Quality Health Index (พร้อมหรือยัง)”

การสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้หลักวิชาการที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป พร้อมสนับสนุนการกำหนดมาตรการเชิงรุกในการเผชิญปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์ข้อมูลการพยากรณ์ (PM 2.5 forecasting) ในการกำหนดมาตรการในรูปแบบ preventive ของหน่วยงานกำกับในพื้นที่ และส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีร่วมกันของทุกภาคส่วน รวมถึงความร่วมมือและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดในการเผชิญและการจัดการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5